เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 13. ปริตตารัมมณติกะ 7. ปัญหาวาร
[29] สภาวธรรมที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีมหัคคตะ
เป็นอารมณ์โดยอาเสวนปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์ซึ่งเกิดก่อน ๆ
เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์ซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอาเสวนปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีอัปปมาณะ
เป็นอารมณ์โดยอาเสวนปัจจัย ได้แก่ อนุโลมที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่
โคตรภู อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โวทานโดยอาเสวนปัจจัย (2)
[30] สภาวธรรมที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มี
อัปปมาณะเป็นอารมณ์โดยอาเสวนปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ซึ่ง
เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอาเสวน-
ปัจจัย โคตรภูเป็นปัจจัยแก่มรรค โวทานเป็นปัจจัยแก่มรรคโดยอาเสวนปัจจัย (1)

กัมมปัจจัย
[31] สภาวธรรมที่มีปริตตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปริตตะ
เป็นอารมณ์โดยกัมมปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะ และนานาขณิกะ
สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่มีปริตตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์
โดยกัมมปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่มีปริตตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็น
วิบากซึ่งมีปริตตะเป็นอารมณ์โดยกัมมปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีมหัคคตะเป็น
อารมณ์โดยกัมมปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ
สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์
โดยกัมมปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็น
วิบากซึ่งมีมหัคคตะเป็นอารมณ์โดยกัมมปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปริตตะเป็น
อารมณ์โดยกัมมปัจจัย มีอย่างเดียว คือ นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่มีมหัคคตะ
เป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบากซึ่งมีปริตตะเป็นอารมณ์โดยกัมมปัจจัย (2)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :478 }