เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 13. ปริตตารัมมณติกะ 7. ปัญหาวาร
อุปปัตติจิตที่มีปริตตะเป็นอารมณ์โดยอนันตรปัจจัย ภวังคจิตที่มีมหัคคตะเป็น
อารมณ์เป็นปัจจัยแก่อาวัชชนจิตที่มีปริตตะเป็นอารมณ์โดยอนันตรปัจจัย ขันธ์ที่มี
มหัคคตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่มีปริตตะเป็นอารมณ์โดยอนันตรปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีอัปปมาณะ
เป็นอารมณ์โดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ภวังคจิตที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่
อาวัชชนจิตที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์โดยอนันตรปัจจัย อนุโลมที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์
เป็นปัจจัยแก่โคตรภู อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โวทาน อนุโลมเป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ
เนวสัญญานาสัญญายตนะของท่านผู้ออกจากนิโรธเป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติโดย
อนันตรปัจจัย (3)
[22] สภาวธรรมที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มี
อัปปมาณะเป็นอารมณ์โดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ซึ่ง
เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอนันตร-
ปัจจัย โคตรภูเป็นปัจจัยแก่มรรค โวทานเป็นปัจจัยแก่มรรค มรรคเป็นปัจจัยแก่ผล
ผลเป็นปัจจัยแก่ผลโดยอนันตรปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปริตตะเป็น
อารมณ์โดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ มัคคปัจจเวกขณะเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่มีปริตตะ
เป็นอารมณ์ผลปัจจเวกขณะเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ นิพพาน
ปัจจเวกขณะเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ เจโตปริยญาณที่มีอัป-
ปมาณะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ ปุพเพนิวาสานุสสติ-
ญาณเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ อนาคตังสญาณเป็นปัจจัยแก่
วุฏฐานะที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ ผลเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่มีปริตตะเป็นอารมณ์โดย
อนันตรปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีมหัคคตะ
เป็นอารมณ์โดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ มัคคปัจจเวกขณะเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่มี
มหัคคตะเป็นอารมณ์ ผลปัจจเวกขณะเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์
นิพพานปัจจเวกขณะเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์ ผลเป็นปัจจัย
แก่วุฏฐานะที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์โดยอนันตรปัจจัย (3)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :473 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 13. ปริตตารัมมณติกะ 7. ปัญหาวาร
สมนันตรปัจจัย
[23] สภาวธรรมที่มีปริตตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปริตตะ
เป็นอารมณ์โดยสมนันตรปัจจัย (ปัจจัยนี้เหมือนกับอนันตรปัจจัย)

สหชาตปัจจัยเป็นต้น
[24] สภาวธรรมที่มีปริตตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปริตตะ
เป็นอารมณ์โดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอัญญมัญญปัจจัย เป็นปัจจัยโดย
นิสสยปัจจัย มี 3 วาระ (พึงเพิ่มให้เหมือนกับปฏิจจวาร)

อุปนิสสยปัจจัย
[25] สภาวธรรมที่มีปริตตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปริตตะ
เป็นอารมณ์โดยอุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ
และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาที่มีปริตตะเป็นอารมณ์แล้วให้ทาน
สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ทําฌานที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ให้เกิดขึ้น ทำวิปัสสนา
ฯลฯ อภิญญา ฯลฯ สมาบัติให้เกิดขึ้น มีมานะ ถือทิฏฐิ อาศัยศีลที่มีปริตตะ
เป็นอารมณ์ ฯลฯ ปัญญา ฯลฯ ราคะ ฯลฯ โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ มานะ ฯลฯ
ทิฏฐิ ฯลฯ ความปรารถนา ฯลฯ สุขทางกาย ฯลฯ ทุกข์ทางกายแล้วให้ทาน
สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ทําฌานที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ให้เกิดขึ้น ทำวิปัสสนา
ฯลฯ อภิญญา ฯลฯ สมาบัติให้เกิดขึ้น ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทําลายสงฆ์ ศรัทธาที่มี
ปริตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ ปัญญา ฯลฯ ราคะ ฯลฯ ความปรารถนา ฯลฯ
สุขทางกาย ฯลฯ ทุกข์ทางกายเป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ
ปัญญา ฯลฯ ราคะ ฯลฯ ความปรารถนา ฯลฯ สุขทางกาย ทุกข์ทางกายโดย
อุปนิสสยปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่มีปริตตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีมหัคคตะเป็น
อารมณ์โดยอุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ
และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :474 }