เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 13. ปริตตารัมมณติกะ 7. ปัญหาวาร
มหัคคตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ เจโตปริยญาณ ฯลฯ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ฯลฯ
ยถากัมมูปคญาณ ฯลฯ อนาคตังสญาณให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ยินดี
เพลิดเพลินขันธ์ที่เป็นมหัคคตะซึ่งมีมหัคคตะเป็นอารมณ์ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น
เพราะทําความยินดีเพลิดเพลินขันธ์นั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะที่มี
มหัคคตะเป็นอารมณ์จึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่
สัมปยุตตขันธ์โดยอธิปติปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปริตตะเป็น
อารมณ์โดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคล
พิจารณาปฐมฌานปัจจเวกขณะให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ พิจารณา
อนาคตังสญาณปัจจเวกขณะให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ยินดีเพลิดเพลินขันธ์ที่
เป็นปริตตะซึ่งมีมหัคคตะเป็นอารมณ์ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทําความ
ยินดีเพลิดเพลินขันธ์นั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะที่มีปริตตะเป็นอารมณ์
จึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น (2)
[19] สภาวธรรมที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มี
อัปปมาณะเป็นอารมณ์โดยอธิปติปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและ
สหชาตาธิปติ
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ พระอริยะออกจากมรรคแล้วพิจารณามรรคให้เป็น
อารมณ์อย่างหนักแน่น พิจารณาผลให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่
สัมปยุตตขันธ์โดยอธิปติปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปริตตะเป็น
อารมณ์โดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ พระเสขะ
พิจารณาโคตรภูให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น พิจารณาโวทานให้เป็นอารมณ์อย่าง
หนักแน่น พิจารณามัคคปัจจเวกขณะให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น พิจารณาผล
ปัจจเวกขณะให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น พิจารณานิพพานปัจจเวกขณะให้เป็น
อารมณ์อย่างหนักแน่น (2)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :471 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 13. ปริตตารัมมณติกะ 7. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีมหัคคตะเป็น
อารมณ์โดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ พระเสขะ
พิจารณาเจโตปริยญาณที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น
พิจารณาปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ฯลฯ พิจารณาอนาคตังสญาณให้เป็นอารมณ์
อย่างหนักแน่น (3)

อนันตรปัจจัย
[20] สภาวธรรมที่มีปริตตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปริตตะ
เป็นอารมณ์โดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ซึ่งเกิดก่อน ๆ
เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่มีปริตตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีมหัคคตะเป็น
อารมณ์โดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ จุติจิตที่มีปริตตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่อุปปัตติ-
จิตที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์โดยอนันตรปัจจัย ภวังคจิตที่มีปริตตะเป็นอารมณ์เป็น
ปัจจัยแก่อาวัชชนจิตที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์โดยอนันตรปัจจัย ขันธ์ที่มีปริตตะเป็น
อารมณ์เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์โดยอนันตรปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่มีปริตตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีอัปปมาณะเป็น
อารมณ์โดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ภวังคจิตที่มีปริตตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่
อาวัชชนจิตที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์โดยอนันตรปัจจัย อนุโลมที่มีปริตตะเป็น
อารมณ์เป็นปัจจัยแก่โคตรภู อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โวทาน อนุโลมเป็นปัจจัยแก่
ผลสมาบัติโดยอนันตรปัจจัย (3)
[21] สภาวธรรมที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีมหัคคตะ
เป็นอารมณ์โดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์ซึ่งเกิดก่อน ๆ
เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์ซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปริตตะเป็น
อารมณ์โดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ จุติจิตที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :472 }