เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 13. ปริตตารัมมณติกะ 7. ปัญหาวาร
13. ปริตตารัมมณติกะ 7. ปัญหาวาร
1. ปัจจยานุโลม 1. วิภังควาร
เหตุปัจจัย
[13] สภาวธรรมที่มีปริตตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปริตตะ
เป็นอารมณ์โดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่มีปริตตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตต-
ขันธ์โดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ เหตุที่มีปริตตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่
สัมปยุตตขันธ์โดยเหตุปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีมหัคคตะเป็น
อารมณ์โดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตต-
ขันธ์โดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (1)
สภาวธรรมที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีอัปปมาณะ
เป็นอารมณ์โดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่
สัมปยุตตขันธ์โดยเหตุปัจจัย (1)

อารัมมณปัจจัย
[14] สภาวธรรมที่มีปริตตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปริตตะ
เป็นอารมณ์โดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ
แล้วพิจารณากุศลนั้น พิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว พระอริยะพิจารณากิเลสที่มี
ปริตตะเป็นอารมณ์ซึ่งละได้แล้ว พิจารณากิเลสที่ข่มได้แล้ว รู้กิเลสที่เคยเกิดขึ้น
บุคคลเห็นแจ้งขันธ์ที่เป็นปริตตะซึ่งมีปริตตะเป็นอารมณ์โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็น
ทุกข์ เป็นอนัตตา ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินขันธ์นั้น
ราคะที่มีปริตตะเป็นอารมณ์จึงเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลรู้จิตของ
บุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยจิตที่เป็นปริตตะซึ่งมีปริตตะเป็นอารมณ์ด้วยเจโตปริยญาณ
ขันธ์ที่เป็นปริตตะซึ่งมีปริตตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ ปุพเพ-
นิวาสานุสสติญาณ ยถากัมมูปคญาณ อนาคตังสญาณ และอาวัชชนจิตโดย
อารัมมณปัจจัย (1)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :467 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 13. ปริตตารัมมณติกะ 7. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่มีปริตตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีมหัคคตะเป็น
อารมณ์โดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลพิจารณาทิพพจักขุ พิจารณาทิพพโสตธาตุ
พิจารณาอิทธิวิธญาณที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ พิจารณาเจโตปริยญาณ ฯลฯ
ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ฯลฯ ยถากัมมูปคญาณ ฯลฯ อนาคตังสญาณ เห็น
แจ้งขันธ์ที่เป็นมหัคคตะซึ่งมีปริตตะเป็นอารมณ์โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ ยินดี
เพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินขันธ์นั้น ราคะที่มีมหัคคตะเป็น
อารมณ์จึงเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลรู้จิตของบุคคลผู้มีความพรั่งพร้อม
ด้วยจิตที่เป็นมหัคคตะซึ่งมีปริตตะเป็นอารมณ์ด้วยเจโตปริยญาณ ขันธ์ที่เป็นมหัคคตะ
ซึ่งมีปริตตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
อนาคตังสญาณ และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย (2)
[15] สภาวธรรมที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีมหัคคตะ
เป็นอารมณ์โดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลพิจารณาวิญญาณัญจายตนะ
พิจารณาเนวสัญญานาสัญญายตนะ พิจารณาอิทธิวิธญาณที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์
พิจารณาเจโตปริยญาณ ฯลฯ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ฯลฯ ยถากัมมูปคญาณ
ฯลฯ อนาคตังสญาณ เห็นแจ้งขันธ์ที่เป็นมหัคคตะซึ่งมีมหัคคตะเป็นอารมณ์โดยเป็น
สภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินขันธ์นั้น
ราคะที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์จึงเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลรู้จิตของ
บุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยจิตที่เป็นมหัคคตะซึ่งมีมหัคคตะเป็นอารมณ์ด้วยเจโต-
ปริยญาณ ขันธ์ที่เป็นมหัคคตะซึ่งมีมหัคคตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ
ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ยถากัมมูปคญาณ อนาคตังสญาณ และอาวัชชนจิตโดย
อารัมมณปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปริตตะเป็น
อารมณ์โดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลพิจารณาปฐมฌานปัจจเวกขณะ ฯลฯ
พิจารณาเนวสัญญานาสัญญายตนปัจจเวกขณะ พิจารณาทิพพจักขุปัจจเวกขณะ
พิจารณาทิพพโสตธาตุปัจจเวกขณะ พิจารณาอิทธิวิธญาณปัจจเวกขณะ ฯลฯ
เจโตปริยญาณปัจจเวกขณะ ฯลฯ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณปัจจเวกขณะ ฯลฯ
ยถากัมมูปคญาณปัจจเวกขณะ ฯลฯ อนาคตังสญาณปัจจเวกขณะ พระอริยะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :468 }