เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 12. ปริตตติกะ 7. ปัญหาวาร
ฯลฯ มรรคของพระอริยะเป็นปัจจัยแก่อัตถปฏิสัมภิทา ฯลฯ ธัมมปฏิสัมภิทา ฯลฯ
นิรุตติปฏิสัมภิทา ฯลฯ ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ฯลฯ ความเป็นผู้ฉลาดในฐานะและ
มิใช่ฐานะโดยอุปนิสสยปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะโดย
อุปนิสสยปัจจัยมี 2 อย่างคือ อนันตรูปนิสสยะและปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาที่เป็นอัปปมาณะแล้วทําฌานที่เป็น
มหัคคตะให้เกิดขึ้น ทำอภิญญาให้เกิดขึ้น ทำสมาบัติให้เกิดขึ้น อาศัยศีลที่เป็น
อัปปมาณะ ... ปัญญา แล้วทําฌานที่เป็นมหัคคตะให้เกิดขึ้น ทำอภิญญาให้เกิดขึ้น
ทำสมาบัติให้เกิดขึ้น ศรัทธาที่เป็นอัปปมาณะ ... ปัญญาเป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่เป็น
มหัคคตะ ... ปัญญาโดยอุปนิสสยปัจจัย พระอริยะอาศัยมรรคแล้วทําสมาบัติที่ยัง
ไม่เกิดให้เกิดขึ้น เข้าสมาบัติที่เกิดขึ้นแล้ว (3)

ปุเรชาตปัจจัย
[75] สภาวธรรมที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะโดยปุเรชาต-
ปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ...
ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุนั้น ราคะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ
โทมนัสจึงเกิดขึ้น เห็นแจ้งโสตะ ฯลฯ หทัยวัตถุ โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ
โทมนัสจึงเกิดขึ้น รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็น
ปัจจัยแก่กายวิญญาณโดยปุเรชาตปัจจัย
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะ
เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นปริตตะโดยปุเรชาต-
ปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะโดยปุเรชาตปัจจัย
มี 2 อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :447 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 12. ปริตตติกะ 7. ปัญหาวาร
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพ-
โสตธาตุ
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นมหัคคตะโดยปุเรชาต-
ปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะโดยปุเรชาต-
ปัจจัย มีอย่างเดียว คือ วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็น
อัปปมาณะโดยปุเรชาตปัจจัย (3)

ปัจฉาชาตปัจจัย
[76] สภาวธรรมที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะโดย
ปัจฉาชาตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นปริตตะซึ่งเกิดภายหลังเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิด
ก่อนโดยปัจฉาชาตปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะโดยปัจฉาชาต-
ปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นมหัคคตะซึ่งเกิดภายหลังเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดย
ปัจฉาชาตปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะโดยปัจฉาชาต-
ปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นอัปปมาณะซึ่งเกิดภายหลังเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อน
โดยปัจฉาชาตปัจจัย (1)

อาเสวนปัจจัย
[77] สภาวธรรมที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะโดย
อาเสวนปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นปริตตะซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็น
ปริตตะซึ่งเกิดหลัง ๆ ฯลฯ อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โคตรภู อนุโลมเป็นปัจจัยแก่
โวทานโดยอาเสวนปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะโดยอาเสวน-
ปัจจัย ได้แก่ บริกรรมปฐมฌานเป็นปัจจัยแก่ปฐมฌานนั้นเองโดยอาเสวนปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :448 }