เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 12. ปริตตติกะ 7. ปัญหาวาร
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้ว
พิจารณากุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น พิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้วให้
เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น พระเสขะพิจารณาโคตรภูให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น
พิจารณาโวทานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ
หทัยวัตถุและขันธ์ที่เป็นปริตตะให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทำความยินดี
เพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึง
เกิดขึ้น
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์
และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะโดยอธิปติปัจจัย
มีอย่างเดียว คือ สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่
สัมปยุตตขันธ์โดยอธิปติปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะโดยอธิปติปัจจัย
มี 2 อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลพิจารณาปฐมฌานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น
ฯลฯ เนวสัญญานาสัญญายตนะ ฯลฯ ทิพพจักขุ ฯลฯ พิจารณาอนาคตังส-
ญาณให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ยินดีเพลิดเพลินขันธ์ที่เป็นมหัคคตะให้เป็น
อารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทําความยินดีเพลิดเพลินขันธ์นั้นให้เป็นอารมณ์อย่าง
หนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป
โดยอธิปติปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะและที่เป็น
มหัคคตะโดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่
เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (3)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :437 }