เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 12. ปริตตติกะ 5. สังสัฏฐวาร

นอาเสวนปัจจัย มี 3 วาระ
นกัมมปัจจัย มี 3 วาระ
นวิปากปัจจัย มี 3 วาระ
นฌานปัจจัย มี 1 วาระ
นมัคคปัจจัย มี 1 วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย มี 3 วาระ (พึงนับอย่างนี้)

ปัจจนียะ จบ

3. ปัจจยานุโลมปัจจนียะ

[53] นอธิปติปัจจัย กับเหตุปัจจัย มี 3 วาระ
นปุเรชาตปัจจัย ” มี 3 วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย ” มี 3 วาระ
นอาเสวนปัจจัย ” มี 3 วาระ
นกัมมปัจจัย ” มี 3 วาระ
นวิปากปัจจัย ” มี 3 วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย ” มี 3 วาระ (พึงนับอย่างนี้)

อนุโลมปัจจนียะ จบ

4. ปัจจยปัจจนียานุโลม

[54] อารัมมณปัจจัย กับนเหตุปัจจัย มี 1 วาระ
อนันตรปัจจัย ” มี 1 วาระ ฯลฯ
อวิคตปัจจัย ” มี 1 วาระ (พึงนับอย่างนี้)

ปัจจนียานุโลม จบ สังสัฏฐวาร จบ
(สัมปยุตตวารเหมือนกับสังสัฏฐวาร)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :434 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 12. ปริตตติกะ 7. ปัญหาวาร
12. ปริตตติกะ 7. ปัญหาวาร
1. ปัจจยานุโลม 1. วิภังควาร
เหตุปัจจัย
[55] สภาวธรรมที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะโดยเหตุ-
ปัจจัย ได้แก่ เหตุที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดย
เหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (1)
สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะโดยเหตุปัจจัย
มี 3 วาระ (พึงเพิ่มปวัตติกาลและปฏิสนธิกาล)
สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะโดย
เหตุปัจจัย มี 3 วาระ

อารัมมณปัจจัย
[56] สภาวธรรมที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะโดย
อารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้ว พิจารณา
กุศลนั้น พิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว พระอริยะพิจารณาโคตรภู พิจารณา
โวทาน พิจารณากิเลสที่ละได้แล้ว พิจารณากิเลสที่ข่มได้แล้ว รู้กิเลสที่เคยเกิดขึ้น
เห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ ขันธ์ที่เป็นปริตตะโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ
ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น ราคะจึงเกิดขึ้น
ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพา-
ยตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณโดยอารัมมณปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะโดยอารัมมณ-
ปัจจัย ได้แก่ บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รู้จิตของบุคคล
ผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยจิตที่เป็นปริตตะด้วยเจโตปริยญาณ ขันธ์ที่เป็นปริตตะเป็น
ปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ยถากัมมูปคญาณ
และอนาคตังสญาณโดยอารัมมณปัจจัย (2)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :435 }