เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 12. ปริตตติกะ 5. สังสัฏฐวาร
สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะเกิดระคนกับสภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะเพราะนปุเรชาต-
ปัจจัย ได้แก่ ในอรูปาวจรภูมิ ขันธ์ 3 เกิดระคนกับขันธ์ 1 ที่เป็นมหัคคตะ ฯลฯ
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (1)
สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะเกิดระคนกับสภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะเพราะ
นปุเรชาตปัจจัย ได้แก่ ในอรูปาวจรภูมิ ขันธ์ 3 เกิดระคนกับขันธ์ 1 ที่เป็น
อัปปมาณะ ฯลฯ (1)

นปัจฉาชาตปัจจัยและนอาเสวนปัจจัย
[48] สภาวธรรมที่เป็นปริตตะเกิดระคนกับสภาวธรรมที่เป็นปริตตะเพราะ
นปัจฉาชาตปัจจัย เพราะนอาเสวนปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 3 เกิดระคนกับขันธ์ 1
ที่เป็นปริตตะ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (1)
สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะเกิดระคนกับสภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะเพราะนอาเสวน-
ปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 3 เกิดระคนกับขันธ์ 1 ที่เป็นวิบากซึ่งเป็นมหัคคตะ ฯลฯ
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (1)
สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะเกิดระคนกับสภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะเพราะ
นอาเสวนปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 3 เกิดระคนกับขันธ์ 1 ที่เป็นวิบากซึ่งเป็นอัปปมาณะ
ฯลฯ (1)

นกัมมปัจจัย
[49] สภาวธรรมที่เป็นปริตตะเกิดระคนกับสภาวธรรมที่เป็นปริตตะเพราะ
นกัมมปัจจัย ได้แก่ เจตนาที่เป็นปริตตะเกิดระคนกับขันธ์ที่เป็นปริตตะ (1)
สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะเกิดระคนกับสภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะเพราะนกัมม-
ปัจจัย ได้แก่ เจตนาที่เป็นมหัคคตะเกิดระคนกับขันธ์ที่เป็นมหัคคตะ (1)
สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะเกิดระคนกับสภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะเพราะ
นกัมมปัจจัย ได้แก่ เจตนาที่เป็นอัปปมาณะเกิดระคนกับขันธ์ที่เป็นกุศลซึ่งเป็น
อัปปมาณะ (1)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :432 }