เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 11. เสกขติกะ 7. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่เป็นของเสขบุคคลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นของอเสขบุคคลโดย
กัมมปัจจัย มีอย่างเดียว คือ นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่เป็นของเสขบุคคล
เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นของอเสขบุคคลโดยกัมมปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่เป็นของเสขบุคคลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นของเสข-
บุคคลและอเสขบุคคลโดยกัมมปัจจัย มีอย่างเดียว คือ สหชาตะ ได้แก่ เจตนา
ที่เป็นของเสขบุคคลเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยกัมมปัจจัย (3)
สภาวธรรมที่เป็นของเสขบุคคลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นของเสขบุคคล
และที่ไม่เป็นของเสขบุคคลอเสขบุคคลโดยกัมมปัจจัย ได้แก่ เจตนาที่เป็นของเสข-
บุคคลเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยกัมมปัจจัย (4)
[60] สภาวธรรมที่เป็นของอเสขบุคคลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นของ
อเสขบุคคลโดยกัมมปัจจัย ได้แก่ เจตนาที่เป็นของอเสขบุคคลเป็นปัจจัยแก่
สัมปยุตตขันธ์โดยกัมมปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นของอเสขบุคคลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นของเสข-
บุคคลและอเสขบุคคลโดยกัมมปัจจัย ได้แก่ เจตนาที่เป็นของอเสขบุคคลเป็น
ปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยกัมมปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่เป็นของอเสขบุคคลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นของอเสข-
บุคคลและที่ไม่เป็นของเสขบุคคลอเสขบุคคลโดยกัมมปัจจัย ได้แก่ เจตนาที่เป็นของ
อเสขบุคคลเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยกัมมปัจจัย (3)
[61] สภาวธรรมที่ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคลเป็นปัจจัยแก่สภาว-
ธรรมที่ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคลโดยกัมมปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะ
และนานาขณิกะ
สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคลเป็นปัจจัยแก่
สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยกัมมปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคลเป็นปัจจัย
แก่ขันธ์ที่เป็นวิบากซึ่งไม่เป็นของเสขบุคคลอเสขบุคคลและกฏัตตารูปโดยกัมมปัจจัย (1)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :396 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 11. เสกขติกะ 7. ปัญหาวาร
วิปากปัจจัย
[62] สภาวธรรมที่เป็นของเสขบุคคลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นของเสข-
บุคคลโดยวิปากปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 1 ที่เป็นวิบากซึ่งเป็นของเสขบุคคลเป็นปัจจัย
แก่ขันธ์ 3 ฯลฯ (บทที่มีสภาวธรรมที่เป็นของเสขบุคคลเป็นมูล มี 3 วาระ)
สภาวธรรมที่เป็นของอเสขบุคคลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นของอเสข-
บุคคลโดยวิปากปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 1 ที่เป็นของอเสขบุคคลเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 3
ฯลฯ (บทที่มีสภาวธรรมที่เป็นของอเสขบุคคลเป็นมูล มี 3 วาระ)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่
ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคลโดยวิปากปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 1 ที่เป็นวิบาก
ซึ่งไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคลเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 3 ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ
ฯลฯ ขันธ์เป็นปัจจัยแก่หทัยวัตถุโดยวิปากปัจจัย (1)

อาหารปัจจัยเป็นต้น
[63] สภาวธรรมที่เป็นของเสขบุคคลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นของเสข-
บุคคลโดยอาหารปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอินทรียปัจจัย เป็นปัจจัยโดยฌานปัจจัย
เป็นปัจจัยโดยมัคคปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสัมปยุตตปัจจัย ฯลฯ

วิปปยุตตปัจจัย
[64] สภาวธรรมที่เป็นของเสขบุคคลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นของ
เสขบุคคลและอเสขบุคคลโดยวิปปยุตตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและ
ปัจฉาชาตะ
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นของเสขบุคคลเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป
โดยวิปปยุตตปัจจัย
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นของเสขบุคคลเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อน
โดยวิปปยุตตปัจจัย (1)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :397 }