เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 11. เสกขติกะ 7. ปัญหาวาร
ปุเรชาตปัจจัย
[56] สภาวธรรมที่ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคลเป็นปัจจัยแก่สภาว-
ธรรมที่ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคลโดยปุเรชาตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ
อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ
ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุนั้น ราคะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ
โทมนัสจึงเกิดขึ้น เห็นแจ้งโสตะ ... หทัยวัตถุโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เป็นอนัตตา ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น เห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพ-
โสตธาตุ รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัย
แก่กายวิญญาณโดยปุเรชาตปัจจัย
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะ
เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่เป็นของเสขบุคคลและ
อเสขบุคคลโดยปุเรชาตปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่เป็นของเสขบุคคลโดยปุเรชาตปัจจัย มีอย่างเดียว คือ วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่
หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นของเสขบุคคลโดยปุเรชาตปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่
เป็นของอเสขบุคคลโดยปุเรชาตปัจจัย มีอย่างเดียว คือ วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่
หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นของอเสขบุคคลโดยปุเรชาตปัจจัย (3)

ปัจฉาชาตปัจจัย
[57] สภาวธรรมที่เป็นของเสขบุคคลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นของ
เสขบุคคลและอเสขบุคคลโดยปัจฉาชาตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นของเสขบุคคลซึ่ง
เกิดภายหลังเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดยปัจฉาชาตปัจจัย (1)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :394 }