เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 11. เสกขติกะ 7. ปัญหาวาร

นัตถิปัจจัย กับนเหตุปัจจัย มี 1 วาระ
วิคตปัจจัย ” มี 1 วาระ
อวิคตปัจจัย ” มี 1 วาระ (พึงนับอย่างนี้)

ปัจจนียานุโลม จบ สังสัฏฐวาร จบ
(สัมปยุตตวารเหมือนกับสังสัฏฐวาร)

11. เสกขติกะ 7. ปัญหาวาร
1. ปัจจยานุโลม 1. วิภังควาร
เหตุปัจจัย
[42] สภาวธรรมที่เป็นของเสขบุคคลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นของเสข-
บุคคล โดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่เป็นของเสขบุคคลเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์
โดยเหตุปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นของเสขบุคคลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นของเสข-
บุคคลและอเสขบุคคลโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่เป็นของเสขบุคคลเป็นปัจจัย
แก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่เป็นของเสขบุคคลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นของเสขบุคคลและ
ที่ไม่เป็นของเสขบุคคลอเสขบุคคลโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่เป็นของเสขบุคคล
เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย (3)
สภาวธรรมที่เป็นของอเสขบุคคลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นของอเสขบุคคล
... (มี 3 วาระ)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่
เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคลโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่ไม่เป็นของเสขบุคคล
และอเสขบุคคลเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย ใน
ปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (1)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :386 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 11. เสกขติกะ 7. ปัญหาวาร
อารัมมณปัจจัย
[43] สภาวธรรมที่เป็นของเสขบุคคลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นของเสข-
บุคคลและอเสขบุคคลโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ พระอริยะออกจากมรรคแล้วพิจารณา
มรรค พิจารณาผลที่เป็นของเสขบุคคล รู้จิตของบุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยจิต
ที่เป็นของเสขบุคคลด้วยเจโตปริยญาณ ขันธ์ที่เป็นของเสขบุคคลเป็นปัจจัยแก่เจโต-
ปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ อนาคตังสญาณ และอาวัชชนจิตโดย
อารัมมณปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นของอเสขบุคคลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นของเสขบุคคล
และอเสขบุคคลโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ พระอรหันต์พิจารณาผลที่เป็นของ
อเสขบุคคล รู้จิตของบุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยจิตที่เป็นของอเสขบุคคลด้วย
เจโตปริยญาณ ขันธ์ที่เป็นของอเสขบุคคลเป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ ปุพเพ-
นิวาสานุสสติญาณ อนาคตังสญาณ และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย (1)
[44] สภาวธรรมที่ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคลโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลให้ทาน
สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้วพิจารณากุศลนั้น พิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว
ฯลฯ ออกจากฌานแล้วพิจารณาฌาน พระอริยะพิจารณานิพพาน นิพพานเป็น
ปัจจัยแก่โคตรภู โวทาน และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย พระอริยะพิจารณากิเลส
ที่ละได้แล้ว พิจารณากิเลสที่ข่มได้แล้ว รู้กิเลสที่เคยเกิดขึ้น เห็นแจ้งจักษุโดยเป็น
สภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดี
เพลิดเพลินจักษุนั้น ราคะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น เห็นแจ้งโสตะ ฯลฯ
หทัยวัตถุ ขันธ์ที่ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคลโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็น
ทุกข์ เป็นอนัตตา ยินดี ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ
ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รู้จิตของบุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยจิตที่ไม่เป็นของ
เสขบุคคลและอเสขบุคคลด้วยเจโตปริยญาณ อากาสานัญจายตนะเป็นปัจจัยแก่
วิญญาณัญจายตนะ ฯลฯ อากิญจัญญายตนะเป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญา-
ยตนะโดยอารัมมณปัจจัย รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :387 }