เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 11. เสกขติกะ 3. ปัจจยวาร
สภาวธรรมที่เป็นของอเสขบุคคลทำสภาวธรรมที่ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสข-
บุคคลให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะนอธิปติปัจจัย ได้แก่ อธิบดีธรรมที่เป็นของอเสขบุคคล
ทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (3)
สภาวธรรมที่เป็นของเสขบุคคลทำสภาวธรรมที่เป็นของเสขบุคคลและที่ไม่เป็น
ของเสขบุคคลอเสขบุคคลให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะนอธิปติปัจจัย ได้แก่ อธิบดีธรรม
ที่เป็นของเสขบุคคลทำขันธ์ที่เป็นของเสขบุคคลและทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (1)
สภาวธรรมที่เป็นของอเสขบุคคลทำสภาวธรรมที่เป็นของอเสขบุคคลและที่ไม่
เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคลให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะนอธิปติปัจจัย ได้แก่
อธิบดีธรรมที่เป็นของอเสขบุคคลทำขันธ์ที่เป็นของอเสขบุคคลและทำหทัยวัตถุให้
เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (1)

นอนันตรปัจจัยเป็นต้น
[27] สภาวธรรมที่ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคลทำสภาวธรรมที่เป็น
ของเสขบุคคลให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะนอนันตรปัจจัย เพราะนสมนันตรปัจจัย
เพราะนอัญญมัญญปัจจัย เพราะนอุปนิสสยปัจจัย เพราะนปุเรชาตปัจจัย เพราะ
นปัจฉาชาตปัจจัย (มี 7 วาระ) เพราะนอาเสวนปัจจัย เพราะนกัมมปัจจัย ได้แก่
เจตนาที่เป็นของเสขบุคคลทำขันธ์ที่เป็นของเสขบุคคลให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น
สภาวธรรมที่ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคลทำสภาวธรรมที่ไม่เป็นของ
เสขบุคคลและอเสขบุคคลให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะนกัมมปัจจัย ได้แก่ เจตนาที่
ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคลทำขันธ์ที่ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคล
ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ... ที่เป็นภายนอก ... ที่มีอาหารเป็นสมุฏฐาน ... ที่มีอุตุ
เป็นสมุฏฐาน ฯลฯ เจตนาที่ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคลทำหทัยวัตถุให้
เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (1)
สภาวธรรมที่เป็นของเสขบุคคลทำสภาวธรรมที่ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสข-
บุคคลให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะนกัมมปัจจัย ได้แก่ เจตนาที่เป็นของเสขบุคคลทำ
หทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (2)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :378 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 11. เสกขติกะ 3. ปัจจยวาร
สภาวธรรมที่เป็นของเสขบุคคลทำสภาวธรรมที่เป็นของเสขบุคคลและที่ไม่เป็น
ของเสขบุคคลอเสขบุคคลให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะนกัมมปัจจัย ได้แก่ เจตนาที่เป็น
ของเสขบุคคลทำขันธ์ที่เป็นของเสขบุคคลและทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (1)

นวิปากปัจจัย
[28] สภาวธรรมที่เป็นของเสขบุคคลทำสภาวธรรมที่เป็นของเสขบุคคลให้
เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะนวิปากปัจจัย (บทมีสภาวธรรมที่เป็นของเสขบุคคลเป็นมูล
มี 3 วาระ)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคลทำสภาวธรรมที่ไม่เป็นของ
เสขบุคคลและอเสขบุคคลให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะนวิปากปัจจัย (บทมีสภาวธรรม
ที่ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคลเป็นมูล มี 3 วาระ)
สภาวธรรมที่เป็นของเสขบุคคลทำสภาวธรรมที่เป็นของเสขบุคคลและที่ไม่เป็น
ของเสขบุคคลอเสขบุคคลให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะนวิปากปัจจัย (ในเสกขฆฏนา มี
3 วาระ)

นอาหารปัจจัยเป็นต้น
[29] สภาวธรรมที่ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคลทำสภาวธรรมที่ไม่
เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคลให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะนอาหารปัจจัย เพราะ
นอินทรียปัจจัย เพราะนฌานปัจจัย เพราะนมัคคปัจจัย เพราะนสัมปยุตตปัจจัย
เพราะนวิปปยุตตปัจจัย เพราะโนนัตถิปัจจัย เพราะโนวิคตปัจจัย ฯลฯ

2. ปัจจยปัจจนียะ 2. สังขยาวาร
สุทธนัย

[30] นเหตุปัจจัย มี 1 วาระ
นอารัมมณปัจจัย มี 5 วาระ
นอธิปติปัจจัย มี 7 วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :379 }