เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 10. อาจยคามิติกะ 7. ปัญหาวาร
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ 1 ที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานเป็นปัจจัย
แก่ขันธ์ 3 และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ 2 ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ
ฯลฯ ขันธ์เป็นปัจจัยแก่หทัยวัตถุโดยอัตถิปัจจัย หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์โดย
อัตถิปัจจัย มหาภูตรูป 1 ฯลฯ ที่เป็นภายนอก ฯลฯ ที่มีอาหารเป็นสมุฏฐาน
ฯลฯ ที่มีอุตุเป็นสมุฏฐาน ฯลฯ สําหรับเหล่าอสัญญสัตตพรหม ฯลฯ
ปุเรชาตะ ได้แก่ พระอรหันต์เห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุโดยเป็นสภาวะ
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ
รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ
ฯลฯ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะเป็นปัจจัยแก่
กายวิญญาณ ฯลฯ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และ
นิพพานโดยอัตถิปัจจัย
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานเป็น
ปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดยอัตถิปัจจัย กวฬิงการาหารเป็นปัจจัยแก่กายนี้ ฯลฯ
รูปชีวิตินทรีย์เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูป ฯลฯ (1)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติโดยอัตถิปัจจัย มีอย่างเดียว คือ ปุเรชาตะ ได้แก่
พระเสขะหรือปุถุชนเห็นแจ้งจักษุโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ยินดี
เพลิดเพลิน เพราะปรารถความยินดีเพลิดเพลินจักษุนั้น ราคะ ฯลฯ โทมนัสจึง
เกิดขึ้น เห็นแจ้งโสตะ ฯลฯ หทัยวัตถุโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลิน
เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินโสตะเป็นต้นนั้น ราคะ ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น
บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์
ที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติโดยอัตถิปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพานโดยอัตถิปัจจัย มีอย่างเดียว คือ ปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุ
เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพานโดยอัตถิปัจจัย (3)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :354 }