เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 10. อาจยคามิติกะ 7. ปัญหาวาร
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ พระอรหันต์อาศัยมรรคแล้วทํากิริยาสมาบัติที่ยังไม่เกิด
ให้เกิดขึ้น เข้ากิริยาสมาบัติที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ เป็นปัจจัยแก่ความเป็นผู้ฉลาดใน
ฐานะและมิใช่ฐานะโดยอุปนิสสยปัจจัย มรรคเป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติโดยอุปนิสสย-
ปัจจัย (3)
[56] สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานเป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานโดยอุปนิสสยปัจจัย มี 3
อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยสุขทางกายแล้วทําตนให้เดือดร้อนให้ร้อน
รนเสวยทุกข์มีการแสวงหาเป็นมูลอาศัยทุกข์ทางกาย ... อุตุ ... โภชนะ ...
เสนาสนะแล้วทําตนให้เดือดร้อนให้ร้อนรน ฯลฯ สุขทางกาย ... ทุกข์ทางกาย ...
อุตุ ... โภชนะ ... เสนาสนะเป็นปัจจัยแก่สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย และผล-
สมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย พระอรหันต์อาศัยสุขทางกายแล้วทํากิริยาสมาบัติที่ยัง
ไม่เกิดให้เกิดขึ้น เห็นแจ้ง ฯลฯ อาศัยทุกข์ทางกาย ... อุตุ ... โภชนะ ... เสนาสนะ
เห็นแจ้ง ฯลฯ (1)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติโดยอุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูป-
นิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยสุขทางกายแล้วให้ทาน ฯลฯ ทําสมาบัติ
ให้เกิดขึ้น ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทําลายสงฆ์อาศัยทุกข์ทางกาย ... อุตุ ... โภชนะ ...
เสนาสนะแล้วให้ทาน ฯลฯ ทําลายสงฆ์ สุขทางกาย ฯลฯ เสนาสนะเป็นปัจจัย
แก่ศรัทธาที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติ ฯลฯ ปัญญา ... ราคะ ... ความ
ปรารถนาโดยอุปนิสสยปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพานโดยอุปนิสสยปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ
และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :347 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 10. อาจยคามิติกะ 7. ปัญหาวาร
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยสุขทางกายแล้วทํามรรคให้เกิดขึ้นอาศัย
ทุกข์ทาง กาย ฯลฯ เสนาสนะแล้วทํามรรคให้เกิดขึ้น สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย
ฯลฯ เสนาสนะเป็นปัจจัยแก่มรรคโดยอุปนิสสยปัจจัย (3)

ปุเรชาตปัจจัย
[57] สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานเป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานโดยปุเรชาตปัจจัย มี 2
อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ พระอรหันต์เห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุโดย
เป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วย
ทิพพโสตธาตุ รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็น
ปัจจัยแก่กายวิญญาณโดยปุเรชาตปัจจัย
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะ
เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ฯลฯ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่เป็นเหตุให้ถึง
ปฏิสนธิ จุติ และนิพพานโดยปุเรชาตปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติโดยปุเรชาตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะ
และวัตถุปุเรชาตะ
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ พระเสขะหรือปุถุชนเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ
โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภ
ความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น ราคะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น
บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและ
จุติโดยปุเรชาตปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพานโดยปุเรชาตปัจจัย มีอย่างเดียว คือ วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่
หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพานโดยปุเรชาตปัจจัย (3)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :348 }