เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 10. อาจยคามิติกะ 7. ปัญหาวาร
สมนันตรปัจจัยเป็นต้น
[53] สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็น
เหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติโดยสมนันตรปัจจัย ฯลฯ (ปัจจัยนี้เหมือนกับอนันตรปัจจัย)
(ในปฏิจจวาร สหชาตปัจจัย มี 9 วาระ เหมือนกับสหชาตวาร ในปฏิจจวาร
อัญญมัญญปัจจัยเหมือนกับอัญญมัญญปัจจัย มี 3 วาระ ในปัจจยวาร นิสสย-
ปัจจัยเหมือนกับนิสสยวาร แม้ทั้ง 4 ปัจจัยไม่มีฆฏนาแผนกหนึ่ง มี 13 วาระ)

อุปนิสสยปัจจัย
[54] สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่
เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติโดยอุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ
อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติแล้ว
ให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ฯลฯ ทําฌาน ฯลฯ วิปัสสนา ฯลฯ อภิญญา
ฯลฯ สมาบัติให้เกิดขึ้น มีมานะ ถือทิฏฐิ บุคคลอาศัยศีลที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ
และจุติ ฯลฯ สุตะ ฯลฯ จาคะ ฯลฯ ปัญญา ฯลฯ ราคะ ฯลฯ โทสะ ฯลฯ
โมหะ ฯลฯ มานะ ฯลฯ ทิฏฐิ ฯลฯ ความปรารถนาแล้วให้ทาน สมาทานศีล
รักษาอุโบสถ ทําฌาน ฯลฯ วิปัสสนา ฯลฯ อภิญญา ฯลฯ สมาบัติ ฯลฯ ฆ่าสัตว์
ฯลฯ ทําลายสงฆ์ ศรัทธาที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติ ฯลฯ ปัญญา ฯลฯ ราคะ
ฯลฯ ความปรารถนาเป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติ ฯลฯ ปัญญา
ฯลฯ ราคะ ฯลฯ ความปรารถนาโดยอุปนิสสยปัจจัย บริกรรมปฐมฌานเป็นปัจจัย
แก่ปฐมฌานโดยอุปนิสสยปัจจัย บริกรรมเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็นปัจจัยแก่
เนวสัญญานาสัญญายตนะโดยอุปนิสสยปัจจัย ปฐมฌานเป็นปัจจัยแก่ทุติยฌาน ฯลฯ
อากิญจัญญายตนะเป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนะโดยอุปนิสสยปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุ
ให้ถึงนิพพานโดยอุปนิสสยปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อนันตรูปนิสสยะและปกตูป-
นิสสยะ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :345 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 10. อาจยคามิติกะ 7. ปัญหาวาร
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บริกรรมปฐมมรรคเป็นปัจจัยแก่ปฐมมรรค ฯลฯ
บริกรรมจตุตถมรรคเป็นปัจจัยแก่จตุตถมรรคโดยอุปนิสสยปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุ
ให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานโดยอุปนิสสยปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อนันตรูปนิสสยะ
และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติแล้ว
ทําตนให้เดือดร้อนให้ร้อนรนเสวยทุกข์มีการแสวงหาเป็นมูลอาศัยศีลที่เป็นเหตุให้ถึง
ปฏิสนธิและจุติ ฯลฯ ปัญญา ฯลฯ ราคะ ฯลฯ ความปรารถนาแล้วทําตนให้
เดือดร้อนให้ร้อนรนเสวยทุกข์มีการแสวงหาเป็นมูลศรัทธาที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและ
จุติ ฯลฯ ปัญญา ฯลฯ ราคะ ฯลฯ ความปรารถนา เป็นปัจจัยแก่สุขทางกาย
ทุกข์ทางกาย และผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย กรรมที่เป็นกุศลและอกุศลเป็น
ปัจจัยแก่วิบากโดยอุปนิสสยปัจจัย (3)
[55] สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุ
ให้ถึงนิพพานโดยอุปนิสสยปัจจัย มีอย่างเดียว คือ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ ปฐมมรรค
เป็นปัจจัยแก่ทุติยมรรค ฯลฯ ตติยมรรคเป็นปัจจัยแก่จตุตถมรรคโดยอุปนิสสย-
ปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้ถึง
ปฏิสนธิและจุติโดยอุปนิสสยปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ และปกตูป-
นิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ พระเสขะอาศัยมรรคแล้วทํากุศลสมาบัติที่ยังไม่เกิดให้
เกิดขึ้น เข้ากุศลสมาบัติที่เกิดขึ้นแล้ว เห็นแจ้งสังขารโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เป็นอนัตตา มรรคของพระเสขะเป็นปัจจัยแก่อัตถปฏิสัมภิทา ... ธัมมปฏิสัมภิทา ...
นิรุตติปฏิสัมภิทา ... ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ... ความเป็นผู้ฉลาดในฐานะและมิใช่
ฐานะโดยอุปนิสสยปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้ถึง
ปฏิสนธิ จุติ และนิพพานโดยอุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ
อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :346 }