เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 10. อาจยคามิติกะ 7. ปัญหาวาร
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้ว พิจารณา
กุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น พิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้วให้เป็น
อารมณ์อย่างหนักแน่น ออกจากฌานแล้วพิจารณาฌานให้เป็นอารมณ์อย่างหนัก
แน่น บุคคลยินดีเพลิดเพลินขันธ์ที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติให้เป็นอารมณ์อย่าง
หนักแน่น เพราะทำความยินดีเพลิดเพลินขันธ์นั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น
ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติเป็นปัจจัย
แก่สัมปยุตตขันธ์โดยอธิปติปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุ
ให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานโดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ สหชาตาธิปติ
ได้แก่ อธิบดีธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดย
อธิปติปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุ
ให้ถึงปฏิสนธิและจุติและที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานโดยอธิปติปัจจัย
มีอย่างเดียว คือ สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติ
เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (3)
[50] สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้
ถึงนิพพานโดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่
เป็นเหตุให้ถึงนิพพานเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดยอธิปติปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้ถึง
ปฏิสนธิและจุติโดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ พระ
เสขะออกจากมรรคแล้วพิจารณามรรคให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น (2)
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้ถึง
ปฏิสนธิ จุติ และนิพพานโดยอธิปติปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและ
สหชาตาธิปติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :342 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 10. อาจยคามิติกะ 7. ปัญหาวาร
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ พระอรหันต์ออกจากมรรคแล้วพิจารณามรรคให้เป็น
อารมณ์อย่างหนักแน่น
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพานเป็นปัจจัยแก่ จิตต-
สมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (3)
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้ถึง
นิพพานและที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานโดยอธิปติปัจจัย มีอย่าง
เดียว คือ สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพานเป็นปัจจัยแก่
สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (4)
[51] สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานเป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานโดยอธิปติปัจจัยมี 2 อย่าง
คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ พระอรหันต์พิจารณาผลให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น
พิจารณานิพพานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น นิพพานเป็นปัจจัยแก่ผลโดยอธิปติ-
ปัจจัย
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพาน
เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติโดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ
ได้แก่ พระเสขะพิจารณาผลให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น พิจารณานิพพานให้
เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นนิพพานเป็นปัจจัยแก่โคตรภูและโวทานโดยอธิปติปัจจัย
บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ... ยินดีเพลิดเพลินหทัย-
วัตถุ ... ขันธ์ที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานให้เป็นอารมณ์อย่างหนัก
แน่นแล้วยินดีเพลิดเพลิน เพราะทําความยินดีเพลิดเพลินโสตะเป็นต้นนั้น ราคะจึง
เกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น (2)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพานโดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่
นิพพานเป็นปัจจัยแก่มรรคโดยอธิปติปัจจัย (3)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :343 }