เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 9. ทัสสเนนปหาตัพพเหตุกติกะ 7. ปัญหาวาร
สหชาตะ ได้แก่ โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และ
จิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย
ปุเรชาตะ ได้แก่ เพราะปรารภจักษุ ขันธ์ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและโมหะจึง
เกิดขึ้น ฯลฯ เพราะปรารภหทัยวัตถุ ฯลฯ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สหรคตด้วย
วิจิกิจฉาและโมหะโดยอัตถิปัจจัย (4)
สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน 3
เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน 3 และที่มีเหตุไม่
ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน 3 โดยอัตถิปัจจัย มี 2 อย่าง
คือ สหชาตะและปุเรชาตะ
สหชาตะ ได้แก่ โมหะที่สหรคตด้วยอุทธัจจะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และ
จิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย
ปุเรชาตะ ได้แก่ เพราะปรารภจักษุ ขันธ์ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะและโมหะจึง
เกิดขึ้น ฯลฯ เพราะปรารภหทัยวัตถุ ฯลฯ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สหรคต
ด้วยอุทธัจจะและโมหะโดยอัตถิปัจจัย (5)
[106] สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและที่มีเหตุไม่
ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน 3 เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มี
เหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคโดยอัตถิปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและ
ปุเรชาตะ
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ 1 ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและหทัย-
วัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 3 โดยอัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ 2 ฯลฯ ขันธ์ 1 ที่สหรคตด้วย
วิจิกิจฉาและโมหะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 3 โดยอัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ 2 ฯลฯ (1)
สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและที่มีเหตุไม่ต้องประหาณ
ด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน 3 เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้อง
ประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน 3 โดยอัตถิ-
ปัจจัย มี 5 อย่าง คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ และอินทรียะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :299 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 9. ทัสสเนนปหาตัพพเหตุกติกะ 7. ปัญหาวาร
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมหาภูตรูป
เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและโมหะเป็นปัจจัยแก่จิตต-
สมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและหทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่โมหะ
โดยอัตถิปัจจัย
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและโมหะเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่
เกิดก่อนโดยอัตถิปัจจัย
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและกวฬิง-
การาหารเป็นปัจจัยแก่กายนี้โดยอัตถิปัจจัย
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและ
รูปชีวิตินทรีย์เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปโดยอัตถิปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและที่มีเหตุไม่ต้องประหาณ
ด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน 3 เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุต้อง
ประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและ
มรรคเบื้องบน 3 โดยอัตถิปัจจัยมี 2 อย่าง คือ สหชาตะและปุเรชาตะ
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ 1 ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและหทัยวัตถุเป็นปัจจัย
แก่ขันธ์ 3 และโมหะโดยอัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ 2 ฯลฯ ขันธ์ 1 ที่สหรคตด้วย
วิจิกิจฉาและโมหะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 3 และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย ฯลฯ
ขันธ์ 2 และโมหะ ฯลฯ (3)
สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน 3 และที่มีเหตุไม่ต้อง
ประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน 3 เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุ
ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน 3 โดยอัตถิปัจจัย (ย่อ มี 3 วาระ พึงจำแนก
โสดาปัตติมรรคนัย พึงกําหนดบทว่าอุทธัจจะไว้) เป็นปัจจัยโดยนัตถิปัจจัย เป็น
ปัจจัยโดยวิคตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอวิคตปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :300 }