เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 8. ทัสสเนนปหาตัพพติกะ 7. ปัญหาวาร
ปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็น
อนัตตา เห็นแจ้งโสตะ ... กาย ... รูป ... โผฏฐัพพะ ... หทัยวัตถุโดยเป็น
สภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพ-
โสตธาตุ รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัย
แก่กายวิญญาณ ฯลฯ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะ
เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ฯลฯ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่ต้องประหาณด้วย
โสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน 3 โดยอัตถิปัจจัย
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้อง
บน 3 เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดยอัตถิปัจจัย กวฬิงการาหารเป็นปัจจัย
แก่กายนี้ ฯลฯ รูปชีวิตินทรีย์เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปโดยอัตถิปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน 3 เป็น
ปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคโดยอัตถิปัจจัย มีอย่างเดียว
คือ ปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุ เพราะปรารภความยินดีเพลิด
เพลินจักษุนั้น ราคะที่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น
วิจิกิจฉาจึงเกิดขึ้น โทมนัสที่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคจึงเกิดขึ้น ยินดีเพลิด
เพลินโสตะ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ต้องประหาณ
ด้วยโสดาปัตติมรรคโดยอัตถิปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน 3 เป็น
ปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน 3 โดยอัตถิปัจจัย มีอย่าง
เดียว คือ ปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุ เพราะปรารภความยินดี
เพลิดเพลินจักษุนั้น ราคะที่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน 3 จึงเกิดขึ้น อุทธัจจะ
จึงเกิดขึ้น โทมนัสที่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน 3 จึงเกิดขึ้น ยินดีเพลิดเพลิน
โสตะ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ต้องประหาณด้วยมรรค
เบื้องบน 3 โดยอัตถิปัจจัย (3)
[95] สภาวธรรมที่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและที่ไม่ต้องประหาณ
ด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน 3 เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ต้องประหาณ
ด้วยโสดาปัตติมรรคโดยอัตถิปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและปุเรชาตะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :217 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 8. ทัสสเนนปหาตัพพติกะ 7. ปัญหาวาร
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ 1 ที่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและหทัยวัตถุ
เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 3 โดยอัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ 2 และหทัยวัตถุ ฯลฯ (1)
สภาวธรรมที่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและที่ไม่ต้องประหาณด้วยโสดา-
ปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน 3 เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่ต้องประหาณด้วย
โสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน 3 โดยอัตถิปัจจัยมี 4 อย่าง คือ สหชาตะ
ปัจฉาชาตะ อาหาระ และอินทรียะ
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมหาภูตรูปเป็น
ปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและกวฬิงการา-
หารเป็นปัจจัยแก่กายนี้โดยอัตถิปัจจัย
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและรูปชีวิตินทรีย์
เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปโดยอัตถิปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน 3 และที่ไม่ต้องประหาณด้วย
โสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน 3 เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ต้องประหาณด้วย
มรรคเบื้องบน 3 ฯลฯ (พึงเพิ่มเป็น 2 วาระ)

นัตถิปัจจัย วิคตปัจจัย และอวิคตปัจจัย
[96] สภาวธรรมที่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคโดยนัตถิปัจจัย เป็นปัจจัยโดยวิคตปัจจัย เป็น
ปัจจัยโดยอวิคตปัจจัย

1. ปัจจยานุโลม 2. สังขยาวาร

[97] เหตุปัจจัย มี 7 วาระ
อารัมมณปัจจัย มี 8 วาระ
อธิปติปัจจัย มี 10 วาระ
อนันตรปัจจัย มี 7 วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :218 }