เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 8. ทัสสเนนปหาตัพพติกะ 7. ปัญหาวาร
สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้อง
บน 3 เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยกัมมปัจจัย ในปฏิสนธิ-
ขณะ เจตนาที่ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน 3 เป็นปัจจัย
แก่สัมปยุตตขันธ์และกฏัตตารูป ฯลฯ
นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรค
เบื้องบน 3 เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบากและกฏัตตารูปโดยกัมมปัจจัย (1)

วิปากปัจจัย
[90] สภาวธรรมที่ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน 3
เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน 3
โดยวิปากปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 1 ที่เป็นวิบากซึ่งไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติ-
มรรคและมรรคเบื้องบน 3 เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 3 และจิตตสมุฏฐานรูปโดยวิปาก-
ปัจจัย ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ ขันธ์เป็นปัจจัยแก่หทัยวัตถุโดยวิปากปัจจัย

อาหารปัจจัยเป็นต้น
[91] สภาวธรรมที่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคโดยอาหารปัจจัย (ย่อ) กวฬิงการาหาร มี 7
วาระ เป็นปัจจัยโดยอินทรียปัจจัย ได้แก่ จักขุนทรีย์ ฯลฯ รูปชีวิตินทรีย์ ฯลฯ
มี 7 วาระ เป็นปัจจัยโดยฌานปัจจัย เป็นปัจจัยโดยมัคคปัจจัย เป็นปัจจัยโดย
สัมปยุตตปัจจัย

วิปปยุตตปัจจัย
[92] สภาวธรรมที่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคโดยวิปปยุตตปัจจัยมี 2 อย่าง คือ สหชาตะ
และปัจฉาชาตะ
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเป็นปัจจัยแก่จิตต-
สมุฏฐานรูปโดยวิปปยุตตปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :214 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 8. ทัสสเนนปหาตัพพติกะ 7. ปัญหาวาร
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเป็นปัจจัย
แก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดยวิปปยุตตปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน 3 เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่
ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน 3 โดยวิปปยุตตปัจจัย มี 2
อย่าง คือ สหชาตะและปัจฉาชาตะ (แม้บทนี้ก็เหมือนกับบทว่าโสดาปัตติมรรค)
สภาวธรรมที่ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน 3 เป็น
ปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน 3 โดย
วิปปยุตตปัจจัย มี 3 อย่าง คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ และปัจฉาชาตะ
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน
3 เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยวิปปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ที่ไม่
ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน 3 เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูป
โดยวิปปยุตตปัจจัย ขันธ์เป็นปัจจัยแก่หทัยวัตถุโดยวิปปยุตตปัจจัย หทัยวัตถุเป็น
ปัจจัยแก่ขันธ์โดยวิปปยุตตปัจจัย
ปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะ
เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ฯลฯ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่ต้องประหาณด้วย
โสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน 3 โดยวิปปยุตตปัจจัย
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้อง
บน 3 เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดยวิปปยุตตปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน 3 เป็น
ปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคโดยวิปปยุตตปัจจัย มีอย่าง
เดียว คือ ปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ต้องประหาณด้วยโสดา-
ปัตติมรรคโดยวิปปยุตตปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน 3 เป็น
ปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน 3 โดยวิปปยุตตปัจจัย มี
อย่างเดียว คือ ปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ต้องประหาณด้วย
มรรคเบื้องบน 3 โดยวิปปยุตตปัจจัย (3)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :215 }