เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 8. ทัสสเนนปหาตัพพติกะ 7. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน 3 เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่
ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน 3 โดยอุปนิสสยปัจจัย มี 2
อย่าง คือ อนันตรูปนิสสยะและปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยราคะที่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน 3
แล้วให้ทาน ฯลฯ ทําสมาบัติให้เกิดขึ้นอาศัยโทสะที่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน
3 ... โมหะ ... มานะ ... ความปรารถนาแล้วให้ทาน ฯลฯ ทําสมาบัติให้เกิดขึ้น
ราคะที่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน 3 ... โทสะ ... โมหะ ... มานะ ...
ความปรารถนาเป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ฯลฯ ผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย (3)
[85] สภาวธรรมที่ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน 3
เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน 3
โดยอุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะและ
ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาแล้วให้ทาน ฯลฯ ทําสมาบัติให้
เกิดขึ้น อาศัยศีล ...สุตะ ... จาคะ ... ปัญญา ... สุขทางกาย ... ทุกข์ทางกาย
... อุตุ ... โภชนะ ... เสนาสนะแล้วให้ทาน ฯลฯ ทําสมาบัติให้เกิดขึ้น ศรัทธา
... สุตะ ... ศีล ... จาคะ ... ปัญญา ... สุขทางกาย ... ทุกข์ทางกาย ... อุตุ
... โภชนะ ... เสนาสนะเป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ฯลฯ ปัญญา ... สุขทางกาย ...
ทุกข์ทางกาย ... ผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน 3 เป็น
ปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคโดยอุปนิสสยปัจจัย มี 3
อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะและปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาแล้วถือทิฏฐิอาศัยศีล ฯลฯ
เสนาสนะแล้วฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทําลายสงฆ์ ศรัทธา ฯลฯ เสนาสนะเป็นปัจจัยแก่
ราคะที่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค ... โทสะ ... โมหะ ... ทิฏฐิ ...
ความปรารถนาโดยอุปนิสสยปัจจัย (2)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :209 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 8. ทัสสเนนปหาตัพพติกะ 7. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน 3 เป็น
ปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน 3 โดยอุปนิสสยปัจจัย มี 3
อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาแล้วมีมานะอาศัยศีล ฯลฯ ปัญญา
... สุขทางกาย ... ทุกข์ทางกาย ... อุตุ ... โภชนะ ... เสนาสนะแล้วมีมานะ ศรัทธา
ฯลฯ ปัญญา ... สุขทางกาย ... ทุกข์ทางกาย ... อุตุ ... โภชนะ ... เสนาสนะ
เป็นปัจจัยแก่ราคะที่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน 3 ... โทสะ ... โมหะ ... มานะ
... ความปรารถนาโดย อุปนิสสยปัจจัย (3)

ปุเรชาตปัจจัย
[86] สภาวธรรมที่ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน 3
เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน 3
โดยปุเรชาตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เป็นอนัตตา เห็นแจ้งโสตะ ... ฆานะ ... ชิวหา ... กาย ... รูป ... เสียง ... กลิ่น
... รส ... โผฏฐัพพะ ... หทัยวัตถุ ฯลฯ เห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วย
ทิพพโสตธาตุ รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็น
ปัจจัยแก่กายวิญญาณโดยปุเรชาตปัจจัย
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายา-
ยตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ฯลฯ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่ต้องประหาณ
ด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน 3 โดยปุเรชาตปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน 3 เป็น
ปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคโดยปุเรชาตปัจจัย มี 2
อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุ เพราะปรารภความ
ยินดีเพลิดเพลินจักษุนั้น ราคะที่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :210 }