เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 7. ปีติติกะ 7. ปัญหาวาร
สหรคตด้วยสุขเป็นปัจจัยแก่อุปปัตติจิตที่สหรคตด้วยอุเบกขา ฯลฯ ภวังคจิตที่ สหรคต
ด้วยปีติและที่สหรคตด้วยสุขเป็นปัจจัยแก่อาวัชชนจิต ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่
เป็นวิบากซึ่งสหรคตด้วยปีติและสหรคตด้วยสุขเป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณธาตุที่เป็น
กิริยา ฯลฯ ภวังคจิตที่สหรคตด้วยปีติและที่สหรคตด้วยสุขเป็นปัจจัยแก่ภวังคจิตที่
สหรคตด้วยอุเบกขา ฯลฯ กุศลและอกุศลที่สหรคตด้วยปีติและที่สหรคตด้วยสุข
เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่สหรคตด้วยอุเบกขา กิริยาเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ ผลเป็น
ปัจจัยแก่วุฏฐานะโดยอนันตรปัจจัย (3)
สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติและที่สหรคตด้วยสุขเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่
สหรคตด้วยปีติและที่สหรคตด้วยสุขโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่สหรคตด้วยปีติ
และที่สหรคตด้วยสุขซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สหรคตด้วยปีติและที่สหรคต
ด้วยสุขซึ่งเกิดหลัง ๆ ฯลฯ อนุโลมที่สหรคตด้วยปีติและที่สหรคตด้วยสุขเป็นปัจจัย
แก่ผลสมาบัติที่สหรคตด้วยปีติและที่สหรคตด้วยสุขโดยอนันตรปัจจัย (4)

สมนันตรปัจจัย
[30] สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติ
โดยสมนันตรปัจจัย (ปัจจัยนี้เหมือนกับอนันตรปัจจัย)

สหชาตปัจจัย
[31] สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติ
โดยสหชาตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 1 ที่สหรคตด้วยปีติเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 3 โดย
สหชาตปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ 2 เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 2 โดยสหชาตปัจจัย ฯลฯ
(ปัจจัยนี้เหมือนกับปฏิจจวาร สหชาตปัจจัย มี 10 วาระ)

อัญญมัญญปัจจัยและนิสสยปัจจัย
[32] สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติ
โดยอัญญมัญญปัจจัย เป็นปัจจัยโดยนิสสยปัจจัย (พึงเพิ่มเป็น 10 วาระ)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :144 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 7. ปีติติกะ 7. ปัญหาวาร
อุปนิสสยปัจจัย
[33] สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติ
โดยอุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลมีจิตสหรคตด้วยปีติอาศัยศรัทธาที่สหรคตด้วย
ปีติแล้วให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ทําฌานที่สหรคตด้วยปีติให้เกิดขึ้น
ทำวิปัสสนาให้เกิดขึ้น ทำมรรคให้เกิดขึ้น ทำสมาบัติให้เกิดขึ้น มีมานะ ถือทิฏฐิ
มีจิตสหรคตด้วยปีติอาศัยศีลที่สหรคตด้วยปีติ ... สุตะ ... จาคะ ... ปัญญาแล้ว
ให้ทาน สมาทานศีล ฯลฯ มีมานะ ถือทิฏฐิ มีจิตสหรคตด้วยปีติอาศัยจาคะที่
สหรคตด้วยปีติ ... โมหะ ... มานะ ... ทิฏฐิ ... ความปรารถนาแล้วให้ทาน
สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ทําฌานที่สหรคตด้วยปีติให้เกิดขึ้น ฯลฯ ทำสมาบัติ
ให้เกิดขึ้น มีจิตสหรคตด้วยปีติ ลักทรัพย์ พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดเพ้อเจ้อ งัดแงะ
ปล้นไม่ให้เหลือ ปล้นเรือนหลังเดียว ดักจี้ในทางเปลี่ยว ล่วงเกินภรรยาผู้อื่น ฆ่า
ชาวบ้าน ฆ่าชาวนิคม ศรัทธาที่สหรคตด้วยปีติ ... ศีล ... สุตะ ... จาคะ ... ปัญญา
... ราคะ ... โมหะ ... มานะ ... ทิฏฐิ ... ความปรารถนาเป็นปัจจัยแก่
ศรัทธาที่สหรคตด้วยปีติ ... ศีล ... สุตะ ... จาคะ ... ปัญญา ... ราคะ ... โมหะ
... มานะ ... ทิฏฐิ ... ความปรารถนาโดยอุปนิสสยปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วยสุขโดย
อุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลมีจิตสหรคตด้วยสุขอาศัยศรัทธาที่สหรคตด้วย
ปีติแล้วให้ทาน ฯลฯ ทําสมาบัติให้เกิดขึ้น มีมานะ ถือทิฏฐิ มีจิตสหรคตด้วยสุข
อาศัยศีลที่สหรคตด้วยปีติ ... สุตะ ... จาคะ ... ปัญญา ... ราคะ ... โมหะ
... มานะ ... ทิฏฐิ ... ความปรารถนาแล้วให้ทาน ฯลฯ ทําสมาบัติให้เกิดขึ้น
มีจิตสหรคตด้วยสุข ลักทรัพย์ ฯลฯ ฆ่าชาวนิคม ศรัทธาที่สหรคตด้วยปีติ ฯลฯ
ความปรารถนาเป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่สหรคตด้วยสุข ฯลฯ ความปรารถนา และ
กายวิญญาณที่สหรคตด้วยสุขโดยอุปนิสสยปัจจัย (2)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :145 }