เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 7. ปีติติกะ 1. ปฏิจจวาร
นอธิปติปัจจัยและนอาเสวนปัจจัย
[10] สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติอาศัยสภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติเกิดขึ้น
เพราะนอธิปติปัจจัย (นอธิปติปัจจัยบริบูรณ์แล้วในปฏิสนธิขณะ) เพราะนปุเรชาต-
ปัจจัย (พึงกําหนดคําว่า ในอรูป และคําว่า ในปฏิสนธิขณะ ไว้ด้วย) เพราะ
นปัจฉาชาตปัจจัย เพราะนอาเสวนปัจจัย

นกัมมปัจจัย
[11] สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติอาศัยสภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติเกิดขึ้น
เพราะนกัมมปัจจัย ได้แก่ เจตนาที่สหรคตด้วยปีติอาศัยขันธ์ที่สหรคตด้วยปีติ
เกิดขึ้น
สภาวธรรมที่สหรคตด้วยสุขอาศัยสภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติเกิดขึ้นเพราะ
นกัมมปัจจัย ได้แก่ เจตนาที่สหรคตด้วยสุขอาศัยขันธ์ที่สหรคตด้วยปีติเกิดขึ้น
(ด้วยเหตุนี้พึงขยายวาระทั้ง 10 ให้พิสดาร)

นวิปากปัจจัย
[12] สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติอาศัยสภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติเกิดขึ้น
เพราะนวิปากปัจจัย ฯลฯ (บริบูรณ์แล้ว ไม่มีปฏิสนธิ)

นฌานปัจจัยเป็นต้น
[13] สภาวธรรมที่สหรคตด้วยสุขอาศัยสภาวธรรมที่สหรคตด้วยสุขเกิดขึ้น
เพราะนฌานปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 2 อาศัยขันธ์ 1 ที่สหรคตด้วยสุขและที่สหรคตด้วย
กายวิญญาณเกิดขึ้น ขันธ์ 1 อาศัยขันธ์ 2 เกิดขึ้น (1)
สภาวธรรมที่สหรคตด้วยอุเบกขาอาศัยสภาวธรรมที่สหรคตด้วยอุเบกขา
เกิดขึ้นเพราะนฌานปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 2 อาศัยขันธ์ 1 ที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณ
เกิดขึ้น ขันธ์ 1 อาศัยขันธ์ 2 เกิดขึ้น (1)
(เพราะนมัคคปัจจัยเหมือนกับนเหตุปัจจัย โมหะจึงไม่มีเพราะนวิปปยุตตปัจจัย
บริบูรณ์แล้ว จึงมีแต่อรูปปัญหาเท่านั้น)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :131 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 7. ปีติติกะ 1. ปฏิจจวาร
2. ปัจจยปัจจนียะ 2. สังขยาวาร
สุทธนัย

[14] นเหตุปัจจัย มี 10 วาระ
นอธิปติปัจจัย มี 10 วาระ
นปุเรชาตปัจจัย มี 10 วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย มี 10 วาระ
นอาเสวนปัจจัย มี 10 วาระ
นกัมมปัจจัย มี 10 วาระ
นวิปากปัจจัย มี 10 วาระ
นฌานปัจจัย มี 2 วาระ
นมัคคปัจจัย มี 10 วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย มี 10 วาระ

(พึงทําปัจจนียะให้บริบูรณ์)
ปัจจนียะ จบ

3. ปัจจยานุโลมปัจจนียะ
ทุกนัย

[15] นอธิปติปัจจัย กับเหตุปัจจัย มี 10 วาระ
นปุเรชาตปัจจัย ” มี 10 วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย ” มี 10 วาระ
นอาเสวนปัจจัย ” มี 10 วาระ
นกัมมปัจจัย ” มี 10 วาระ
นวิปากปัจจัย ” มี 10 วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย ” มี 10 วาระ

(พึงนับอนุโลมปัจจนียะโดยพิสดาร)
อนุโลมปัจจนียะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :132 }