เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [1. พุทธวรรค] 3. เถราปทาน 6. อุปาลิเถราปทาน
[544] สาวกของพระพุทธองค์ บางรูปไต่ถามปัญหาในวินัย
ในปัญหาที่ถามมานั้น ข้าพระองค์ไม่ต้องคิด(ลังเล)
ย่อมอธิบายปัญหานั้นได้เลย
[545] ข้าแต่พระมหามุนีตลอดพุทธเขต ยกเว้นพระองค์
ในพระวินัยไม่มีใครผู้เช่นกับข้าพระองค์
ผู้ที่ยิ่งกว่าจักมีแต่ที่ไหน
[546] พระผู้มีพระภาคผู้โคดม ประทับนั่งในท่ามกลางภิกษุสงฆ์แล้ว
บันลืออย่างนี้ว่า ผู้เสมอกับอุบาลีในพระวินัย1
และในขันธกะ(คือในมหาวรรค จูฬวรรคและปริวาร)ไม่มี
[547] สำหรับท่านผู้เห็นพระวินัยเป็นหลักสำคัญ
นวังคสัตถุศาสตร์ เท่าที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้
ทั้งหมดพระศาสดาตรัสไว้ในวินัย2
548] พระผู้มีพระภาคผู้โคดมศากยะผู้ประเสริฐ
ทรงระลึกถึงกรรมของข้าพระองค์
ประทับนั่งในท่ามกลางหมู่ภิกษุแล้ว
ทรงแต่งตั้งข้าพระองค์ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ
[549] ข้าพระองค์ได้ปรารถนาตำแหน่งนี้นานนับได้ 100,000 กัป
ข้าพระองค์ได้บรรลุประโยชน์นั้นแล้ว ถึงความสำเร็จในวินัย

เชิงอรรถ :
1 วินัย หมายถึงอุภโตวิภังค์ วินัยทั้งฝ่ายภิกษุและฝ่ายภิกษุณี
2 คำว่า วินเย กถิตํ สพฺพํ ฉบับพม่าเป็น วินโยคธํ ตํ สพฺพํ ในอรรถกถาก็มีนัยเช่นนี้ โดยพระอรรถ-
กถาจารย์แก้เป็น สพฺพํ วินโยคธํ ตํ วินเย อนฺโตปวิฏฺŸํ วินยมูลกํ อิจฺเจวํ ปสฺสิโน ปสฺสนฺตสฺส (ขุ.อป.อ.
1/547/347)
คาถานี้ เดิมแปลว่า เรากล่าวสัตถุศาสน์มีองค์ 9 ตลอดถึงที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้แล้วทั้งหมดไว้ใน
พระวินัยแก่บุคคลผู้เห็นมูลพระวินัย (ฉบับสังคายนา)
ข้อความตามนัยเดิมนั้น ดูกระไรอยู่ เพราะทำให้สงสัยว่าพระอุบาลีจะเป็นผู้จัดนวังคสัตถุศาสน์ไว้
ในพระวินัยหรือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 32 หน้า :83 }