เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [41. เมตเตยยวรรค] 2. ปุณณกเถราปทาน
[28] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา 4 วิโมกข์ 8
และอภิญญา 6 ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระติสสเมตเตยยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
ติสสเมตเตยยเถราปทานที่ 1 จบ

2. ปุณณกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระปุณณกเถระ
(พระปุณณกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[29] พระสยัมภูพุทธเจ้า ผู้ไม่ทรงพ่ายแพ้
ทรงพระประชวร
ทรงอาศัยยอดเงื้อมประทับอยู่ระหว่างภูเขา
[30] ขณะนั้น ได้มีเสียงบันลือลั่นรอบ ๆ อาศรมของข้าพเจ้า
เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน
ได้มีแสงสว่างในขณะนั้น
[31] หมี หมาใน เสือดาว เนื้อร้าย และพญาราชสีห์
เท่าที่มีอยู่ในไพรสณฑ์
ทั้งหมดได้พากันส่งเสียงร้องขึ้นในขณะนั้น
[32] ข้าพเจ้าเห็นความอัศจรรย์นั้นแล้ว ได้ไปยังเงื้อม
ณ ที่นั้น ข้าพเจ้าได้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้ไม่ทรงพ่ายแพ้ เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว
[33] เหมือนต้นพญาไม้สาละมีดอกบานสะพรั่ง
เหมือนดวงอาทิตย์อุทัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 32 หน้า :658 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [41. เมตเตยยวรรค] 2. ปุณณกเถราปทาน
เหมือนถ่านเพลิงปราศจากเปลวไฟ
พระองค์ผู้ไม่ทรงพ่ายแพ้เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว
[34] ข้าพเจ้านำหญ้าและไม้มารวมกันแล้ว
ก่อเป็นเชิงตะกอนขึ้นในที่นั้น
ครั้นทำเชิงตะกอนดีแล้ว
ได้ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ
[35] ครั้นถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระแล้วได้ใช้น้ำหอมประพรม
ในขณะนั้น เทวดายืนอยู่ในอากาศได้ระบุชื่อว่า
[36] ดูกรท่านผู้เป็นมุนี ในครั้งที่ท่านมีนามว่าปุณณกะ
ท่านก็ได้บำเพ็ญกิจนั้นแก่พระสยัมภูพุทธเจ้า
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่แล้ว
[37] ข้าพเจ้าเคลื่อนจากกายนั้นแล้ว ได้ไปเกิดยังเทวโลก
ในเทวโลกนั้น กลิ่นทิพย์ย่อมตกลงจากอากาศ
[38] แม้ในภพไหน ๆ ข้าพเจ้าก็มีชื่อว่าปุณณกะ
ในครั้งนั้น ข้าพเจ้าจะเกิดเป็นเทวดาหรือมนุษย์ก็ตาม
ก็ให้ความดำริบริบูรณ์ได้
[39] นี้เป็นชาติสุดท้ายของข้าพเจ้า
ภพสุดท้ายกำลังเป็นไปอยู่
แม้ในภพนี้ชื่อของข้าพเจ้าก็ยังปรากฏว่าปุณณกะเหมือนกัน
[40] ข้าพเจ้าให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าโคดมศากยะ
ผู้ประเสริฐ ทรงพอพระทัยแล้ว
กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้วจึงอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
[41] ในกัปที่ 91 นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ทำกรรมไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 32 หน้า :659 }