เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [39. อัมพฏผลวรรค] 2. ลพุชทายกเถราปทาน
[6] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา 4 วิโมกข์ 8
และอภิญญา 6 ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระอัมพฏผลทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
อัมพฏผลทายกเถราปทานที่ 1 จบ

2. ลพุชทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระลพุชทายกเถระ
(พระลพุชทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[7] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นคนเฝ้าสวนอาศัยอยู่ในกรุงพันธุมดี
ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลีคือกิเลส
กำลังเสด็จเหาะไปในอากาศ
[8] ข้าพเจ้าได้ถือผลขนุนสำปะลอ
ไปถวายพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
พระองค์ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่
ประทับยืนอยู่ในอากาศ ทรงรับ(ผลขนุน)แล้ว
[9] นั่นเป็นเหตุให้ข้าพเจ้าเกิดปีติ
นำความสุขมาให้ในปัจจุบัน
เพราะได้ถวายผลไม้แด่พระพุทธเจ้าด้วยใจที่ผ่องใส
[10] ข้าพเจ้าได้ปีติและความสุข
อย่างสูงสุดเหลือล้นในครั้งนั้น
รัตนะย่อมเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้าผู้บังเกิดในภพนั้น ๆ
[11] ในกัปที่ 91 นัปจากกัปนี้
ข้าพเจ้าได้ถวายผลไม้ไว้ในครั้งนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 32 หน้า :564 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [39. อัมพฏผลวรรค] 3. อุทุมพรผลทายกเถราปทาน
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้
[12] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[13] การที่ข้าพเจ้าได้มาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา 3 ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[14] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา 4 วิโมกข์ 8
และอภิญญา 6 ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระลพุชทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ลพุชทายกเถราปทานที่ 2 จบ

3. อุทุมพรผลทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระอุทุมพรผลทายกเถระ
(พระอุทุมพรผลทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[15] พระพุทธเจ้าผู้เป็นบุรุษผู้สูงสุด
ประทับอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำนินนคา
ข้าพเจ้าได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลีคือกิเลส
เป็นเอกอัครบุคคลมีพระหฤทัยตั้งมั่นด้วยดี
[16] ข้าพเจ้ามีใจเลื่อมใสในพระองค์ผู้ชำระมลทินคือกิเลส
จึงได้ถือผลมะเดื่อไปถวายพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 32 หน้า :565 }