เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [1. พุทธวรรค] 3. เถราปทาน 1. สารีปุตตเถราปทาน
[348] ก็ถ้าใคร ๆ จะเป็นเทวดา หรือมนุษย์ก็ตาม
ได้ศึกษามาเป็นอย่างดีแล้ว จะพึงกำหนดเพื่อจะประมาณ(คุณ)
ผู้นั้นจะพึงได้รับความลำบากเปล่า
[349] ข้าแต่พระองค์ผู้ศากยบุตร มีพระยศยิ่งใหญ่
ข้าพระองค์ดำรงอยู่ในศาสนาของพระองค์แล้ว
สำเร็จปัญญาบารมีอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
[350] ข้าพระองค์จะย่ำยีเหล่าเดียรถีย์
วันนี้ ข้าพระองค์เป็นจอมทัพธรรมในศาสนาของพระศากยบุตร
ประกาศศาสนาของพระชินเจ้า
[351] กรรมที่ข้าพระองค์ได้ทำไว้ในกาลที่จะกำหนดจำนวนมิได้
แสดงผลแก่ข้าพระองค์แล้วในอัตภาพสุดท้ายนี้
ข้าพระองค์หลุดพ้นดีแล้ว ดุจกำลังลูกศรหลุดพ้นไปจากแล่ง
เผากิเลสของข้าพระองค์ได้แล้ว
[352] มนุษย์คนใดคนหนึ่งพึงทูนของหนักไว้บนศีรษะตลอดเวลา
เขาต้องลำบากเพราะของหนัก
เป็นผู้เต็มไปด้วยของหนักทั้งหลาย
[353] ข้าพระองค์ถูกไฟ 3 กอง1 เผาไหม้อยู่
เป็นผู้เต็มไปด้วยของหนักคือภพ2 โดยประการนั้น
ท่องเที่ยวไปแล้วในภพทั้งหลาย
ภูเขาสิเนรุอันบุคคลถอนขึ้นแล้วฉันใด
[354] ก็ภาระอันหนักข้าพระองค์ยกลงแล้ว
ภพทั้งหลายข้าพระองค์ก็เพิกได้แล้ว ฉันนั้น

เชิงอรรถ :
1 ไฟ 3 กอง หมายถึงไฟคือราคะ ไฟคือโทสะ ไฟคือโมหะ (ขุ.อป.อ. 1/352/283, 489-90/336)
2 ของหนักคือภพ หมายถึงการเวียนว่ายตายเกิดในภพ (ขุ.อป.อ. 1/352-3/283)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 32 หน้า :54 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [1. พุทธวรรค] 3. เถราปทาน 1. สารีปุตตเถราปทาน
กิจที่ควรทำทั้งหมด1ในศาสนาของพระองค์ผู้ศากยบุตร
ข้าพระองค์ก็ได้กระทำสำเร็จแล้ว
[355] ตลอดพุทธเขตยกเว้นพระผู้มีพระภาคผู้ศากยะ ผู้ประเสริฐ
ข้าพระองค์เป็นผู้เลิศด้วยปัญญา ไม่มีผู้เช่นกับข้าพระองค์
[356] ข้าพระองค์เป็นผู้ฉลาดในสมาธิ ถึงความสำเร็จแห่งฤทธิ์
วันนี้ เมื่อต้องการจะเนรมิตคน 1,000 คนก็ได้
[357] พระผู้มีพระภาคผู้เป็นมหามุนี
เป็นผู้ชำนาญในอนุปุพพวิหารธรรม
ตรัสสอนแก่ข้าพระองค์ นิโรธสมาบัติเป็นที่นอนของข้าพระองค์
[358] ข้าพระองค์มีทิพยจักษุบริสุทธิ์หมดจด
ข้าพระองค์เป็นผู้ฉลาดในสมาธิ หมั่นประกอบในสัมมัปปธาน2
ยินดีในการเจริญโพชฌงค์
[359] ข้าพระองค์ได้ทำกิจทุกอย่างที่สาวกจะพึงบรรลุแล้ว
ยกเว้นพระผู้มีพระภาคผู้ทรงเป็นที่พึ่งของสัตว์โลกเสียแล้ว
ไม่มีผู้เช่นกับข้าพระองค์
[360] ข้าพระองค์เป็นผู้ฉลาดในสมาบัติ
ได้ฌานและวิโมกข์3 เร็วพลัน ยินดีในการเจริญโพชฌงค์
เป็นผู้บรรลุสาวกบารมีญาณ

เชิงอรรถ :
1 กิจที่ควรทำทั้งหมด ในที่นี้หมายถึงกรรมเป็นเครื่องกำจัดกิเลสโดยลำดับแห่งมรรค (ขุ.อป.อ.
1/354/284)
2 สัมมัปปธานมี 4 คือ (1) เพียรระวังบาปอกุศลที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น (2) เพียรละบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว
(3) เพียรทำกุศลที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น (4) เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้ว (ที.ปา. 11/310/201)
3 วิโมกข์ คือ ภาวะที่จิตปลอดพ้นจากสิ่งรบกวนและน้อมดิ่งเข้าไปในอารมณ์นั้น ๆ อย่างปล่อยตัวเต็มที่
ในอรรถกถาหมายเอาโลกุตตรวิโมกข์ 8 (อฏฺฐนฺนํ โลกุตฺตรวิโมกฺขานญฺจ ขุ.อป.อ. 1/360/284) คือ
1-2-3. ผู้เจริญกสิณต่าง ๆ แล้วได้รูปฌาน 4;4-6-7. ผู้ได้อรูปฌาน 4 ; 8. ผู้ได้สัญญาเวทยิตนิโรธ
ดูอีก (สํ.นิ.อ. 2/70/143

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 32 หน้า :55 }