เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [33. อุมาปุปผิยวรรค] 9. ปุปผฉัตติยเถราปทาน
[71] ในกัปที่ 11 นับจากกัปนี้ไป
ได้เป็นกษัตริย์ผู้จักรพรรดิพระนามว่าสหัสสาระ
สมบูรณ์ด้วยรัตนะ 7 ประการ มีพลานุภาพมาก
[72] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา 4 วิโมกข์ 8
และอภิญญา 6 ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระสุมนาเวฬิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
สุมนาเวฬิยเถราปทานที่ 8 จบ

9. ปุปผฉัตติยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระปุปผฉัตติยเถระ
(พระปุปผฉัตติยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[73] เมื่อพระผู้มีพระภาคพระนามว่าสิทธัตถะ
ผู้เจริญที่สุดในโลก ผู้คงที่
ทรงประกาศสัจจะ ทำสัตว์ทั้งหลายให้สงบเย็นอยู่
[74] ข้าพเจ้าได้นำดอกบัว 100 กลีบ ที่รื่นรมย์ใจ
มาทำเป็นฉัตรดอกไม้ยกขึ้นบูชาพระพุทธเจ้า
[75] พระศาสดาพระนามว่าสิทธัตถะ ผู้ทรงรู้แจ้งโลก
ผู้สมควรรับเครื่องบูชา ประทับยืนอยู่ในท่ามกลางหมู่ภิกษุ
ได้ตรัสพระคาถานี้ว่า
[76] ผู้ใดทำจิตให้เลื่อมใส ได้กั้นฉัตรดอกไม้ให้เรา
ด้วยจิตที่เลื่อมใสนั้น
ผู้นั้นจะไม่ไปเกิดยังทุคติเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 32 หน้า :494 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [33. อุมาปุปผิยวรรค] 10. สปริวารฉัตตทายกเถราปทาน
[77] พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะ
ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก ครั้นตรัสดังนี้แล้ว
ทรงส่งบริษัทไปแล้วเสด็จเหาะขึ้นสู่ท้องฟ้าเวหาส
[78] เมื่อพระพุทธเจ้าผู้เป็นนรชนผู้ประเสริฐเสด็จลุกขึ้น
แม้ฉัตรขาวก็ลอยขึ้นด้วย
ฉัตรที่งามเลิศลอยไปข้างหน้าของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
[79] ในกัปที่ 94 นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ใช้ดอกไม้บูชาไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาด้วยฉัตรดอกไม้
[80] ในกัปที่ 74 (นับจากกัปนี้ไป)
ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ 8 ชาติ มีพระนามเหมือนกันว่าชลสิขะ
สมบูรณ์ด้วยรัตนะ 7 ประการ มีพลานุภาพมาก
[81] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา 4 วิโมกข์ 8
และอภิญญา 6 ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระปุปผฉัตติยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ปุปผฉัตติยเถราปทานที่ 9 จบ

10. สปริวารฉัตตทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระสปริวารฉัตตทายกเถระ
(พระสปริวารฉัตตทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึง
กล่าวว่า)
[82] พระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ผู้ทรงรู้แจ้งโลก
ผู้สมควรรับเครื่องบูชา
ทรงโปรยฝนคือธรรมให้ตกอยู่ เหมือนน้ำฝนในอากาศ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 32 หน้า :495 }