เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [26. โถมกวรรค] 4. จัมปกปุปผิยเถราปทาน
[10] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าจากเทวโลกมาในมนุษยโลกนี้
ได้ทำจิตกาธานแล้วถวายเพลิงพระสรีระ ณ ที่นั้น และได้ทำสักการะ
[11] ในกัปที่ 91 นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ทำกรรมไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[12] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา 4 วิโมกข์ 8
และอภิญญา 6 ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระจิตกปูชกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
จิตกปูชกเถราปทานที่ 3 จบ

4. จัมปกปุปผิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระจัมปกปุปผิยเถระ
(พระจัมปกปุปผิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[13] ในที่ไม่ไกลภูเขาหิมพานต์ มีภูเขาลูกหนึ่งชื่อวิกนะ
ณ ท่ามกลางภูเขาลูกนั้น
มีพระสมณะผู้อบรมอินทรีย์ดีแล้ว อาศัยอยู่
[14] ข้าพเจ้าได้เห็นพระองค์ผู้สงบระงับ
จึงมีใจผ่องใส ได้ถือดอกจำปา 3 ดอก โปรยลงบูชา
[15] ในกัปที่ 91 นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ใช้ดอกไม้บูชาไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 32 หน้า :417 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [26. โถมกวรรค] 5. สัตตปาฏลิยเถราปทาน
[16] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา 4 วิโมกข์ 8
และอภิญญา 6 ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระจัมปกปุปผิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
จัมปกปุปผิยเถราปทานที่ 4 จบ

5. สัตตปาฏลิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระสัตตปาฏลิยเถระ
(พระสัตตปาฏลิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[17] ข้าพเจ้าได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้รุ่งเรืองดังดอกกรรณิการ์
ประทับนั่งอยู่ระหว่างภูเขา
จึงได้เก็บดอกแคฝอย 7 ดอกมาบูชาพระพุทธเจ้า
[18] ในกัปที่ 94 นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ใช้ดอกไม้บูชาไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[19] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา 4 วิโมกข์ 8
และอภิญญา 6 ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระสัตตปาฏลิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
สัตตปาฏลิยเถราปทานที่ 5 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 32 หน้า :418 }