เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [1. พุทธวรรค] 3. เถราปทาน 1. สารีปุตตเถราปทาน
[224] ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระจักษุ1
จิตของสัตว์เหล่าใดแล่นไปในโลกพร้อมทั้งเทวโลก
สัตว์ผู้มีจิตเหล่านั้นได้อยู่ในข่ายคือญาณของพระองค์
[225] ข้าแต่พระสัพพัญญู
พระองค์ทรงบรรลุพระโพธิญาณ2อย่างสูงสุดทั้งสิ้นด้วยพระญาณใด
พระองค์ทรงย่ำยีอัญเดียรถีย์ทั้งหลายด้วยพระญาณนั้น
[226] (พระเถระทั้งหลายผู้ทำสังคายนากล่าวว่า)
ท่านสุรุจิดาบสนั้น ครั้นกล่าวคาถาเหล่านี้แล้ว
จึงปูลาดหนังสัตว์นั่งลงบนแผ่นดิน
[227] (ดาบสสุรุจินั่งอยู่ ณ ที่นั้นแล้วกล่าวว่า)
ผู้คนกล่าวกันในบัดนี้ว่า
ขุนเขา3หยั่งลงในห้วงมหรรณพ 84,000 โยชน์
สูงขึ้นไป 84,000 โยชน์เช่นกัน
[228] ภูเขาสิเนรุก็สูงสุดเท่านั้น ภูเขาสิเนรุนั้น
ทั้งด้านยาว ทั้งด้านกว้างถึงเพียงนั้น
ก็ยังถูกบดให้ละเอียดเป็นแสนโกฏิด้วยการนับ
[229] ข้าแต่พระสัพพัญญู เมื่อตั้งคะแนนไว้4
ผงแห่งภูเขาสิเนรุก็จะพึงหมดสิ้นไปก่อน
แต่พระญาณของพระองค์ ไม่มีใครสามารถจะนับได้
[230] ผู้ใดพึงเอาข่ายตาถี่ ๆ ขึงล้อมน้ำไว้
สัตว์น้ำทั้งหมดที่มีอยู่ก็จะพึงเข้าไปอยู่ภายในข่าย ฉันใด

เชิงอรรถ :
1 ดูเชิงอรรถ หน้าที่ 36 ในเล่มนี้
2 พระโพธิญาณ หมายถึงพระนิพพาน (ขุ.อป.อ. 1/225/271)
3 ขุนเขา หมายถึงขุนเขาพระสุเมรุ (ชื่อภูเขากลางจักรวาล มียอดเป็นที่ตั้งแผ่นดินของสวรรค์ดาวดึงส์ซึ่งมี
พระอินทร์อยู่) (ขุ.อป.อ. 1/227/271)
4 ตั้งคะแนน หมายถึงนับพระญาณของพระองค์ (ขุ.อป.อ. 1/229/272)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 32 หน้า :38 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [1. พุทธวรรค] 3. เถราปทาน 1. สารีปุตตเถราปทาน
[231] ข้าแต่พระองค์ผู้มีความเพียรมาก
เดียรถีย์มากมายบางพวกก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ย่อมเข้าไปสู่ป่าทึบคือทิฏฐิ ถูกความยึดถือทำให้ลุ่มหลง
[232] เดียรถีย์เหล่านั้นเข้าไปภายในข่าย1
เพราะพระญาณอันบริสุทธิ์ของพระองค์
ซึ่งมีปกติเห็นสรรพสิ่ง ไม่มีอะไรขัดขวาง
เดียรถีย์เหล่านั้นหาล่วงเลยพระญาณของพระองค์ไปไม่
[233] ก็สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคชินเจ้าพระนามว่าอโนมทัสสี
ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่ ออกจากสมาธิแล้วตรวจดูทิศ
[234] พระสาวกนามว่านิสภะ ของพระผู้มีพระภาค
พระนามว่าอโนมทัสสี
ผู้เป็นมุนี มีภิกษุ 100,000 รูป
เป็นผู้มีจิตสงบ ผู้คงที่ แวดล้อมแล้ว2
[235] ผู้สิ้นอาสวะแล้ว ผู้บริสุทธิ์ ผู้ได้อภิญญา 63
ผู้คงที่ ทราบพระดำริของพระพุทธเจ้าแล้ว
จึงเข้าเฝ้าพระองค์ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
[236] สาวกเหล่านั้นยืนกลางอากาศ ณ ที่ใกล้พระผู้มีพระภาคนั้น
ได้กระทำประทักษิณ ประนมมือ
นมัสการแล้วลงมาเฝ้า ณ สำนักพระพุทธเจ้า
[237] พระผู้มีพระภาคชินเจ้าพระนามว่าอโนมทัสสี
ผู้เจริญที่สุดในโลก ผู้องอาจกว่านรชน
ประทับนั่งในท่ามกลางหมู่ภิกษุแล้วทรงแย้มพระโอษฐ์ให้ปรากฏ

เชิงอรรถ :
1 ข่าย ในที่นี้หมายถึงข่ายคือพระญาณของพระพุทธเจ้า (ขุ.อป.อ. 1/232/273)
2 ผู้คงที่ หมายถึงผู้ไม่หวั่นไหวในอารมณ์ที่น่าปรารถนาและไม่น่าปรารถนา (ขุ.อป.อ. 1/234/373)
3 อภิญญา 6 หมายถึงความรู้ยิ่งคือ อิทธิวิธิ แสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ได้, ทิพพโสต หูทิพย์, เจโตปริยญาณ
ทายใจคนอื่นได้, ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติได้, ทิพพจักขุ ตาทิพย์, อาสวักขยญาณ ญาณ
ที่ทำให้อาสวะสิ้นไป (องฺ.ฉกฺก. (แปล) 22/2/412-414)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 32 หน้า :39 }