เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [1. พุทธวรรค] 2. ปัจเจกพุทธาปทาน
บุคคลเห็นโทษในกามคุณแล้ว
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียวเหมือนนอแรด
[107] (พระปัจเจกพุทธเจ้าอีกองค์หนึ่งกล่าวว่า)
คำว่า กาม นี้ เป็นอันตราย เป็นดุจฝี
เป็นอุปัททวะ เป็นโรค เป็นดุจลูกศร เป็นภัย1
บุคคลเห็นภัยในกามคุณแล้ว
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียวเหมือนนอแรด
[108] (พระปัจเจกพุทธเจ้าอีกองค์หนึ่งกล่าวว่า)
บุคคลพึงครอบงำภัยทั้งปวงแม้เหล่านี้ คือ
ความหนาว ความร้อน ความหิว ความกระหาย
ลม แดด เหลือบ และสัตว์เลื้อยคลาน
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียวเหมือนนอแรด
[109] (พระปัจเจกพุทธเจ้าอีกองค์หนึ่งกล่าวว่า)
พระปัจเจกพุทธเจ้าละทิ้งหมู่ มีขันธ์เกิดดีแล้ว
มีดอกบัว (คือธรรม) เป็นผู้ยิ่งใหญ่อยู่ในป่าตามความชอบใจได้
เหมือนนาคะละทิ้งโขลงแล้วอยู่ในป่าได้ตามความชอบใจ
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียวเหมือนนอแรด
[110] (พระปัจเจกพุทธเจ้าอีกองค์หนึ่งกล่าวว่า)
บุคคลใคร่ครวญถ้อยคำของพระปัจเจกพุทธเจ้า
ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ว่า

เชิงอรรถ :
1 คำว่า กาม ชื่อว่าเป็นอันตราย เพราะนำมาซึ่งความฉิบหาย ชื่อว่าเป็นดุจฝี เพราะหลั่งกิเลสออกมา ชื่อ
ว่าเป็นอุปัททวะ เพราะรบกวน ชื่อว่าเป็นโรค เพราะปล้นเอาความไม่มีโรคไป ชื่อว่าเป็นดุจลูกศร เพราะเสียดแทง
จิตใจและถอนยาก ชื่อว่าเป็นภัย เพราะนำมาซึ่งภัยในภพนี้และภพหน้า (ขุ.อป.อ.1/107/214.)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 32 หน้า :18 }