เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [4. กุณฑธานวรรค] 2. สาคตเถราปทาน
[15] ข้าพเจ้ามีความเพียรสำหรับนำพาธุระ
เป็นความเพียรที่นำมาซึ่งธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะ
ข้าพเจ้าทรงร่างกายซึ่งมีในภพสุดท้าย
อยู่ในศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
[16] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา 4 วิโมกข์ 8
และอภิญญา 6 ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระกุณฑธานเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
กุณฑธานเถราปทานที่ 1 จบ

2. สาคตเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระสาคตเถระ
(พระสาคตเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[17] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้เป็นพราหมณ์มีนามว่าโสภิตะ
ห้อมล้อมด้วยศิษย์ของตนได้ไปยังอาราม
[18] ในสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้สูงสุดแห่งบุรุษ
มีหมู่ภิกษุห้อมล้อม เสด็จออกจากประตูอารามแล้วประทับยืนอยู่
[19] ข้าพเจ้าได้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ผู้ฝึกพระองค์แล้วมีหมู่ภิกษุผู้ฝึกตนห้อมล้อมแล้ว
จึงทำจิตของตนให้เลื่อมใส
ชมเชยพระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้นำสัตว์โลกว่า
[20] ต้นไม้ทุกชนิดนั้นขึ้นงอกงามบนแผ่นดินได้ ฉันใด
สัตว์ทั้งหลายผู้มีความรู้ ก็ฉันนั้น
ย่อมงอกงามในศาสนาของพระชินเจ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 32 หน้า :152 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [4. กุณฑธานวรรค] 2. สาคตเถราปทาน
[21] แม้พระองค์ทรงเป็นสัพพัญญู
เปรียบด้วยนายเกวียนทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
ทรงชักนำชนจำนวนมากออกจากทางผิดแล้วตรัสบอกทางถูก1
[22] ทรงฝึกพระองค์แล้ว มีหมู่ภิกษุผู้ฝึกตนห้อมล้อมแล้ว
มีปกติเข้าฌาน มีหมู่ภิกษุห้อมล้อมผู้ยินดีในฌาน
มีความเพียร ห้อมล้อมด้วยผู้มีจิตเด็ดเดี่ยว
สงบระงับ ผู้คงที่
[23] พระองค์ประดับด้วยสาวกบริษัท
ทรงงดงามด้วยพระญาณที่เกิดจากบุญ
พระองค์มีพระรัศมีพวยพุ่งดังดวงอาทิตย์อุทัย ฉะนั้น
[24] พระศาสดาพระนามว่าปทุมุตตระ ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
ทอดพระเนตรเห็นข้าพเจ้าผู้มีจิตเลื่อมใสแล้ว
ประทับยืนอยู่ในท่ามกลางหมู่ภิกษุได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
[25] พราหมณ์ใดเกิดความร่าเริงแล้วสรรเสริญเรา
พราหมณ์นั้นจักรื่นรมย์ในเทวโลก 100,000 กัป
[26] เขาถูกกุศลมูลตักเตือนแล้วจุติจากสวรรค์ชั้นดุสิต
จักบวชในศาสนาของพระผู้มีพระภาคพระนามว่าโคดม
[27] ครั้นบวชในศาสนาแล้วจักได้ความยินดีและความร่าเริง
มีนามว่าสาคตะ เป็นสาวกของพระศาสดา”
[28] ข้าพเจ้าครั้นบวชแล้ว เว้นกายทุจริต
ละวจีทุจริต ชำระอาชีวะให้บริสุทธิ์
[29] ข้าพเจ้าอยู่อย่างนี้ เป็นผู้ฉลาดในเตโชธาตุ (ธาตุไฟ)
กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว อยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ

เชิงอรรถ :
1 ทางถูก ในที่นี้หมายถึงอุบายเครื่องบรรลุนิพพานซึ่งเป็นทางของสัตบุรุษ (ขุ.อป.อ. 2/21/63)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 32 หน้า :153 }