เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [1. พุทธวรรค] 2. ปัจเจกพุทธาปทาน
ของพระปัจเจกพุทธเจ้า
ผู้เป็นมหาฤๅษี ผู้ตรัสรู้ได้เองเถิด
[88] ประวัติในอดีต การพยากรณ์ โทษ
เหตุปราศจากความกำหนัดอันใด
ของพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้อุบัติขึ้นแต่ละองค์ ๆ
และพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายได้บรรลุพระโพธิญาณด้วยเหตุอันใด
[89] พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายมีการกำหนดหมาย
ในวัตถุที่น่ารักใคร่1ว่าปราศจากความน่ารักใคร่
มีจิตคลายกำหนัดในโลกที่มีสภาวะน่ากำหนัด
ละกิเลสที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ชนะทิฏฐิ2ที่เป็นเหตุให้ดิ้นรนแล้ว
ได้บรรลุพระโพธิญาณเพราะเหตุอันนั้นนั่นเอง
[90] บุคคลยกโทษในสัตว์ทุกจำพวก
ไม่เบียดเบียนสัตว์หนึ่งสัตว์ใดในบรรดาสัตว์เหล่านั้น
มีจิตเมตตา หวังประโยชน์เกื้อกูล
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียวเหมือนนอแรด
[91] (พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่งกล่าวว่า)
บุคคลยกโทษในสัตว์ทุกจำพวก
ไม่เบียดเบียนสัตว์หนึ่งสัตว์ใดในบรรดาสัตว์เหล่านั้น
ก็ไม่ต้องการบุตร(แล้ว) จะพึงต้องการสหายจากไหนเล่า
พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด
[92] (พระปัจเจกพุทธเจ้าอีกองค์หนึ่งกล่าวว่า)
ความรักย่อมมีแก่ผู้มีความเกี่ยวข้อง
ทุกข์นี้ย่อมเป็นไปตามความรัก

เชิงอรรถ :
1 วัตถุที่น่าใคร่ ในที่นี้หมายถึงวัตถุกามและกิเลสกาม (ขุ.อป.อ. 1/89/153)
2 ทิฏฐิ ในที่นี้หมายถึงทิฏฐิ 62 (ขุ.อป.อ. 1/89/153)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 32 หน้า :14 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [1. พุทธวรรค] 2. ปัจเจกพุทธาปทาน
บุคคลเมื่อเพ่งเห็นโทษอันเกิดจากความรัก
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียวเหมือนนอแรด
[93] (พระปัจเจกพุทธเจ้าอีกองค์หนึ่งกล่าวว่า)
บุคคลเมื่ออนุเคราะห์มิตร สหายผู้ใจดี
มีใจผูกพัน ย่อมทำประโยชน์ให้เสื่อมประโยชน์ไปได้
บุคคลเมื่อเพ่งเห็นภัยในความเชยชิด
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียวเหมือนนอแรด
[94] (พระปัจเจกพุทธเจ้าอีกองค์หนึ่งกล่าวว่า)
กอไผ่กว้างใหญ่เกาะเกี่ยวกันไว้ฉันใด
ความห่วงใยในบุตรและทาระ
ก็กว้างใหญ่เกาะเกี่ยวกันไว้ฉันนั้น
บุคคลเมื่อไม่เกี่ยวข้องเหมือนหน่อไผ่
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียวเหมือนนอแรด
[95] (พระปัจเจกพุทธเจ้าอีกองค์หนึ่งกล่าวว่า)
เนื้อในป่า มิได้ถูกผูกมัดไว้ย่อมเที่ยวหาอาหารได้
ตามความพอใจฉันใด
วิญญูชนเมื่อเพ่งเห็นธรรมที่ให้ถึงความเสรี
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียวเหมือนนอแรด
[96] (พระปัจเจกพุทธเจ้าอีกองค์หนึ่งกล่าวว่า)
ในท่ามกลางสหาย ย่อมมีการปรึกษากัน
ในเรื่องที่อยู่ เรื่องการดำรงตน เรื่องการไป เรื่องการเที่ยวจาริก
บุคคลเมื่อเพ่งการบวชที่ให้ถึงความเสรี1ที่พวกคนพาลไม่มุ่งหวัง
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียวเหมือนนอแรด

เชิงอรรถ :
1 การบวชที่ให้ถึงความเสรี ในที่นี้หมายถึงเจริญวิปัสสนาแล้วบรรลุปัจเจกโพธิญาณ (ขุ.อป.อ. 1/96/198)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 32 หน้า :15 }