เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [2. สีหาสนิยวรรค] 6. ราหุลเถราปทาน
[75] มีกรุงนามว่าเรณุวดี
ยาว 300 โยชน์ สี่เหลี่ยมจตุรัส
[76] มีปราสาทชื่อว่าสุทัสสนะ วิสสุกรรมเทพบุตรเนรมิตให้
ประกอบด้วยเรือนยอดอย่างดี
ประดับประดาด้วยรัตนะ 7 ประการ
[77] กรุงนั้นไม่สงัดจากเสียง 10 ประการ1
พลุกพล่านด้วยพวกวิทยาธร
จักเป็นดุจเมืองสุทัสสนะของเหล่าเทวดา
[78] พอเมื่อพระอาทิตย์ขึ้น กรุงนั้นก็เปล่งรัศมี
นครนั้นรุ่งเรืองเป็นนิตย์ แผ่ออกไป 8 โยชน์ โดยรอบ
[79] ในกัปที่ 100,000 (นับจากกัปนี้ไป)
พระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร
ทรงสมภพในราชสกุลโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก
[80] อุบาสกนั้นถูกกุศลมูลตักเตือนแล้วจักจุติจากสวรรค์ชั้นดุสิต
เกิดเป็นพระโอรสของพระผู้มีพระภาคพระนามว่าโคดม
[81] ถ้าหากเขาจะพึงอยู่ครองเรือนก็จะพึงได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
แต่ข้อที่เขาผู้คงที่ จะยินดีในการอยู่ครองเรือนนั้น
ไม่ใช่ฐานะที่จะเป็นได้ (เป็นไปไม่ได้)
[82] เขาจักต้องออกจากเรือนไปบวช มีข้อวัตรอันดี
จักสำเร็จเป็นพระอรหันต์โดยนามว่าราหุล
[83] พระราหุลเป็นผู้มีปัญญารักษาตน สมบูรณ์ด้วยศีล
ดุจนกต้อยตีวิดรักษาฟองไข่ ดุจจามรีรักษาขนหาง
พระมหามุนีได้ทรงเห็นเราแล้ว

เชิงอรรถ :
1 เสียง 10 ประการ ได้แก่ เสียงช้าง เสียงม้า เสียงรถ เสียงกลอง เสียงตะโพน เสียงพิณ เสียงขับร้อง
เสียงกังสดาล เสียงประโคมดนตรี และเสียงว่า ‘ท่านทั้งหลายโปรดบริโภค ดื่ม เคี้ยวกิน’ (ที.ม. (แปล)
10/241/281)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 32 หน้า :113 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [2. สีหาสนิยวรรค] 7. อุปเสนวังคันตปุตตเถราปทาน
[84] ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึงธรรมของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ยินดีอยู่ในศาสนา
กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
[85] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา 4 วิโมกข์ 8
และอภิญญา 6 ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระราหุลเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ราหุลเถราปทานที่ 6 จบ

7. อุปเสนวังคันตปุตตเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระอุปเสนวังคันตบุตรเถระ
(พระอุปเสนวังคันตบุตรเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึง
กล่าวว่า)
[86] ข้าพเจ้าได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้เจริญที่สุดในโลก ผู้องอาจกว่านรชน
ผู้สูงสุดแห่งนรชนพระองค์นั้น
ประทับนั่งอยู่ ณ เงื้อมเขา
[87] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้เห็นดอกกรรณิการ์กำลังบาน
จึงเด็ดขั้วดอกกรรณิการ์นั้นมาประดับฉัตรแล้ว
บูชาพระพุทธเจ้า
[88] ข้าพเจ้าได้ถวายอาหารบิณฑบาต เป็นข้าวสุกชั้นพิเศษ
จัดว่าเป็นโภชนะชั้นดี ได้นิมนต์สมณะ 8 รูป
เป็น 9 รูปรวมทั้งพระพุทธเจ้า ให้ฉัน ณ สถานที่วิเวกนั้น
[89] พระผู้มีพระภาคผู้ทรงมีความเพียรมาก
ผู้เป็นพระสยัมภู ทรงเป็นบุคคลผู้เลิศ ทรงอนุโมทนาว่า
ด้วยการถวายฉัตรและการถวายข้าวสุกชั้นดีนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 32 หน้า :114 }