เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [1. อิตถีวิมาน] 3. ปาริจฉัตตวรรค 9.วิสาลักขิวิมาน
[668] แต่เมื่อเธอมาถึงที่นี่เที่ยวชมสวนอยู่
กายเธองามกระทั่งความงามของสวนไม่ปรากฏ
เพราะเหตุอะไรรูปกายเธอจึงงามเช่นนี้
เทพธิดา เราถามแล้ว ขอเธอจงบอกเถิดว่า
นี้เป็นผลของกรรมอันใดเล่า
(สุนันทาเทพธิดาผู้เป็นอัครชายาทูลตอบว่า)
[669] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมเทพ ผู้ทรงบำเพ็ญทานมาแต่ปางก่อน
ขอพระองค์โปรดสดับกรรมอันเป็นเหตุให้ดิฉันมีรูปงาม
บังเกิดในเทวโลก มีฤทธิ์และอานุภาพ
[670] หม่อมฉันเป็นอุบาสิกามีนามว่าสุนันทา
อยู่ในกรุงราชคฤห์ อันน่ารื่นรมย์
เป็นผู้มีศรัทธา สมบูรณ์ด้วยศีล ยินดีแจกจ่ายทานเป็นนิตย์
[671] หม่อมฉันมีจิตเลื่อมใสในเหล่าภิกษุผู้ปฏิบัติตรง
จึงได้ถวายผ้านุ่งผ้าห่ม ภัตตาหาร เสนาสนะ
และเครื่องตามประทีป
[672] ทั้งได้เข้าจำอุโบสถศีลซึ่งประกอบด้วยองค์ 8
ทุกวัน 14 ค่ำ 15 ค่ำ และ 8 ค่ำแห่งปักษ์
และตลอดปาฏิหาริยปักษ์
[673] สำรวมระวังในศีลตลอดเวลา
และแจกจ่ายทานด้วยความเคารพ
จึงได้ครอบครองวิมานนี้
[674] หม่อมฉันงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ การลักขโมย
การประพฤตินอกใจสามี
สำรวมระวังจากการพูดเท็จ และจากการดื่มน้ำเมา
[675] หม่อมฉันยินดีในศีล 5 ฉลาดในอริยสัจ
เป็นอุบาสิกาของพระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่า โคดม
ผู้มีพระจักษุ มีพระยศ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 26 หน้า :76 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [1. อิตถีวิมาน] 3. ปาริจฉัตตวรรค 10. ปาริจฉัตตกวิมาน
[676] หม่อมฉันใช้ดอกไม้ทั้งหมดที่หญิงรับใช้นำมาจากตระกูลญาติเนือง
นิตย์นั้นเองบูชาที่พระสถูปของพระผู้มีพระภาค
[677] อนึ่ง ในวันอุโบสถ หม่อมฉันมีจิตเลื่อมใส
ได้ถือมาลัยของหอมและเครื่องลูบไล้
ไปบูชาที่พระสถูปของพระผู้มีพระภาคนั้นด้วยมือทั้งสองของตน
[678] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมเทพ
เพราะกรรมที่หม่อมฉันใช้มาลัยบูชาพระสถูป1
หม่อมฉันจึงมีรูปงาม บังเกิดในเทวโลก มีฤทธิ์และอานุภาพเช่นนี้
[679] อนึ่ง การที่หม่อมฉันรักษาศีลเป็นปกติ
จะอำนวยผลเพียงเท่านั้นก็หามิได้
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมเทพ หม่อมฉันมีความหวังว่า
อย่างไรเสีย เราพึงได้เป็นพระสกทาคามี
วิสาลักขิวิมานที่ 9 จบ

10. ปาริจฉัตตกวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ใช้มาลัยดอกอโศก
บูชาพระพุทธเจ้า
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพธิดาองค์หนึ่งว่า)
[680] เทพธิดา เธอนำดอกไม้สวรรค์ชื่อปาริจฉัตตกะ
หอมหวน น่ารื่นรมย์
มาร้อยเป็นมาลัยทิพย์ ขับร้องรื่นเริงบันเทิงอยู่
[681] เมื่อเธอนั้นกำลังฟ้อนรำอยู่ เสียงทิพย์น่าฟัง น่ารื่นรมย์ใจ
ย่อมเปล่งออกจากอวัยวะน้อยใหญ่ทุกส่วนสัดของเธอ

เชิงอรรถ :
1 ของพระผู้มีพระภาค (ขุ.วิ.อ. 678/194)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 26 หน้า :77 }