เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [8. อัฏฐกนิบาต] 1. มหากัจจายนเถรคาถา
8. อัฏฐกนิบาต
1. มหากัจจายนเถรคาถา
ภาษิตของพระมหากัจจายนเถระ
(พระมหากัจจายนเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า)
[494] ภิกษุไม่พึงทำงานก่อสร้างให้มาก1
พึงเว้นห่างหมู่ชน
ไม่พึงขวนขวายเพื่อประจบสกุล
ภิกษุผู้ขวนขวายนั้นชื่อว่าติดในรส
ย่อมละทิ้งประโยชน์ที่จะนำความสุขมาให้
[495] ด้วยว่านักปราชญ์มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น
ได้กล่าวการไหว้และการบูชาในตระกูลทั้งหลายว่า
เป็นเปือกตม เป็นลูกศรอันแหลมคมซึ่งถอนขึ้นได้ยาก
เป็นสักการะที่คนชั่วละได้ยาก
[496] ภิกษุไม่พึงแนะนำให้คนอื่นกระทำกรรมชั่ว
และไม่พึงส้องเสพกรรมชั่วนั้นเสียเอง
เพราะสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์
[497] คนเราจะเป็นโจรเพราะคำพูดของผู้อื่นก็หาไม่
จะเป็นมุนีเพราะคำพูดของผู้อื่นก็หาไม่
และบุคคลรู้จักตนเองว่าเป็นอย่างไร
แม้เทพทั้งหลายก็รู้จักเขาว่าเป็นอย่างนั้น

เชิงอรรถ :
1 ไม่พึงเริ่มงานก่อสร้างใหม่ ที่ใหญ่ เช่นการสร้างวัดใหม่เป็นต้น ซึ่งขัดต่อการบำเพ็ญสมณธรรม แต่งาน
ปฏิสังขรณ์เสนาสนะที่ทรุดโทรม ซึ่งใช้ความพยายามเล็กน้อย ควรทำแท้ เพื่อปฏิบัติบูชาพระดำรัสของ
พระศาสดา (ขุ.เถร.อ. 2/494/164)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 26 หน้า :424 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [8. อัฏฐกนิบาต] 2. สิริมิตตเถรคาถา
[498] พวกอื่นย่อมไม่รู้ว่า พวกเราย่อยยับอยู่ในโลกนี้
บรรดาชนเหล่านั้น ชนเหล่าใดรู้แจ้งอยู่
ความทะเลาะวิวาทกันย่อมระงับได้จากสำนักของคนเหล่านั้น
[499] ผู้มีปัญญาถึงจะสิ้นทรัพย์ ก็เป็นอยู่ได้
ส่วนคนมีทรัพย์ แต่ไม่มีปัญญา ก็เป็นอยู่ไม่ได้
[500] บุคคลย่อมได้ยินเสียงทุกอย่างด้วยหู
ย่อมเห็นรูปทุกอย่างด้วยตา
ส่วนนักปราชญ์ไม่พึงละทิ้งทุกอย่างที่ได้เห็น ที่ได้ยิน
[501] ผู้เป็นปราชญ์นั้นถึงมีตาดี ก็พึงทำเป็นเหมือนคนตาบอด
ถึงมีหูดี ก็พึงทำเป็นเหมือนคนหูหนวก
ถึงมีปัญญา ก็พึงทำเป็นเหมือนคนใบ้
ถึงมีกำลัง ก็พึงทำเป็นเหมือนคนอ่อนแอ
ครั้นเมื่อประโยชน์เกิดขึ้นแล้ว ถึงจะนอนในเวลาใกล้จะตาย
ก็ยังทำประโยชน์ให้สำเร็จได้

2. สิริมิตตเถรคาถา
ภาษิตของพระสิริมิตตเถระ
(พระสิริมิตตเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า)
[502] ภิกษุใดไม่มักโกรธ ไม่ผูกโกรธ
ไม่มีมายา ไม่ส่อเสียด
ภิกษุนั้นผู้คงที่ละไปแล้ว
ย่อมไม่เศร้าโศกด้วยข้อปฏิบัติตามที่กล่าวมานี้
[503] ภิกษุใดไม่มักโกรธ ไม่ผูกโกรธ ไม่มีมายา ไม่ส่อเสียด
ภิกษุนั้นคุ้มครองทวารไว้ได้ทุกเมื่อ ละไปแล้ว
ย่อมไม่เศร้าโศกด้วยข้อปฏิบัติตามที่กล่าวมานี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 26 หน้า :425 }