เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [3. ติกนิบาต] 2. ปัจจยเถรคาถา
3. ติกนิบาต
1. อังคณิกภารทวาชเถรคาถา
ภาษิตของพระอังคณิกภารทวาชเถระ
(พระอังคณิกภารทวาชเถระเมื่อจะพยากรณ์พระอรหัต จึงได้กล่าว 3 คาถา
ไว้ดังนี้ว่า)
[219] เมื่อเราแสวงหาความบริสุทธิ์โดยอุบายไม่สมควร
จึงได้บำเรอไฟอยู่ในป่า
เราไม่รู้ทางอันบริสุทธิ์
จึงได้บำเพ็ญตบะอย่างอื่นอีก
[220] ความสุขนั้นเราได้แล้วโดยง่าย
ขอท่านจงมองเห็นธรรมว่าเป็นธรรมดีงาม
เราบรรลุวิชชา 3 ได้ทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว
[221] เมื่อก่อน เราได้เป็นเผ่าพันธ์แห่งพระพรหม
แต่บัดนี้ เราเป็นพราหมณ์ บรรลุวิชชา 3
ล้างมลทินคือกิเลสได้แล้ว
และเป็นพราหมณ์จบไตรเพท

2. ปัจจยเถรคาถา
ภาษิตของพระปัจจยเถระ
(พระปัจจยเถระเมื่อจะพยากรณ์พระอรหัต จึงได้กล่าว 3 คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[222] เราบวชแล้วได้ 5 วัน
ยังเป็นเสขบุคคลอยู่
ยังไม่ได้บรรลุพระอรหัต
เมื่อเราเข้าไปยังวิหารแล้วได้ตั้งใจปรารถนาว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 26 หน้า :373 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [3. ติกนิบาต] 4. ธนิยเถรคาถา
[223] เมื่อเรายังถอนลูกศรคือตัณหาขึ้นไม่ได้
เราจะไม่กิน ไม่ดื่ม ไม่ออกไปจากวิหาร
ทั้งจะไม่เอนกายนอน
[224] เชิญท่านดูความเพียร
ความบากบั่นของเรานั้นผู้อยู่อย่างนี้ เราบรรลุวิชชา 3
ได้ทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว

3. พากุลเถรคาถา
ภาษิตของพระพากุลเถระ
(พระพากุลเถระเมื่อจะพยากรณ์พระอรหัต จึงได้กล่าว 3 คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[225] ผู้ต้องการจะทำกิจที่ควรทำก่อนในภายหลัง
ย่อมพลาดจากฐานะที่นำความสุขมาให้
และย่อมเดือดร้อนในภายหลัง
[226] บุคคลพึงพูดถึงสิ่งที่ตนทำได้
ไม่พึงพูดถึงสิ่งที่ตนทำไม่ได้
บัณฑิตทั้งหลายย่อมรู้จักบุคคลผู้ไม่ทำ ดีแต่พูด
[227] นิพพานที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว
เป็นสุขดีหนอ ไม่มีความโศก
ปราศจากกิเลสดุจธุลี เกษม เป็นที่ดับทุกข์ได้

4. ธนิยเถรคาถา
ภาษิตของพระธนิยเถระ
(พระธนิยเถระเมื่อจะพยากรณ์พระอรหัต จึงได้กล่าว 3 คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[228] ถ้าภิกษุมุ่งหวังในความเป็นสมณะ
ปรารถนาจะเป็นอยู่สบาย
ไม่ควรดูหมิ่นจีวร ข้าว และน้ำอันเป็นของสงฆ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 26 หน้า :374 }