เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [2. ทุกนิบาต] 5. ปัญจมวรรค 6. จูฬกเถรคาถา
5. วิสาขปัญจาลีปุตตเถรคาถา
ภาษิตของพระวิสาขปัญจาลีบุตรเถระ
(พระวิสาขปัญจาลีบุตรเถระเมื่อจะบอกลักษณะของพระธรรมกถึกแก่ภิกษุ
ทั้งหลาย จึงได้กล่าว 2 คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[209] (พระธรรมกถึกประกอบด้วยองค์ 5 เหล่านี้ คือ)
1. ไม่พึงยกตน
2. ไม่ข่มผู้อื่น
3. ไม่พึงมองดูด้วยความเหยียดหยาม
4. ไม่พึงกระทบกระทั่งท่านผู้ถึงฝั่งนิพพาน
5. ไม่พึงกล่าวคุณความดีของตนในที่ชุมชน
ไม่ฟุ้งซ่าน กล่าวแต่พอประมาณ มีวัตรดีงาม
[210] พระธรรมกถึกนั้นมักเห็นเนื้อความอันสุขุมและละเอียดยิ่งนัก
มีปัญญาเฉลียวฉลาด ประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตนอยู่เสมอ
ปฏิบัติตามศีลของพระพุทธเจ้าเป็นอาจิณ
พึงได้นิพพานไม่ยากเลย

6. จูฬกเถรคาถา
ภาษิตของพระจูฬกเถระ
(พระจูฬกเถระเมื่อจะทำตนให้เกิดอุตสาหะในการเจริญภาวนา จึงได้กล่าว 2
คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[211] นกยูงทั้งหลาย มีหงอนงาม ขนหางงาม
สร้อยคอเขียวงาม จะงอยปากงาม
มีเสียงไพเราะ ส่งเสียงร้องอยู่
อนึ่ง แม้แผ่นดินใหญ่นี้มีหญ้าเขียวชะอุ่ม
มีน้ำชุ่มชื่น ท้องฟ้าก็มีเมฆสวยงาม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 26 หน้า :370 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [2. ทุกนิบาต] 5. ปัญจมวรรค 8. วัชชิตเถรคาถา
[212] ท่านมีสภาวะที่ควรแก่การงาน
จงเพ่งฌานที่พระโยคาวจรผู้มีใจดีเพ่งแล้ว
จงเป็นผู้มีความพยายามไม่หยุดยั้ง
ในพระศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยดี
จงบรรลุนิพพานอันเป็นธรรมสูงสุด
ขาวสะอาด ผุดผ่อง ละเอียด
เห็นได้แสนยากเป็นสภาพที่แน่นอนนั้นเถิด

7. อนูปมเถรคาถา
ภาษิตของพระอนูปมเถระ
(พระอนูปมเถระกล่าวสอนตนเองด้วย 2 คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[213] จิตที่มีความเพลิดเพลิน
ถูกกรรมกิเลสยกขึ้นสู่ภพซึ่งเป็นเช่นกับหลาว
ท่านเว้นจากภพที่เรียกว่าหลาว
และกามคุณที่เรียกว่าท่อนไม้นั้น ๆ เสีย
[214] เรากล่าวอกุศลจิตนั้นว่าเป็นจิตมีโทษ
กล่าวอกุศลจิตนั้นว่าเป็นจิตประทุษร้าย
พระศาสดาที่บุคคลหาได้โดยยาก ท่านก็ได้แล้ว
ท่านอย่ามาชักชวนเราในทางฉิบหายเลย

8. วัชชิตเถรคาถา
ภาษิตของพระวัชชิตเถระ
(พระวัชชิตเถระระลึกชาติก่อนของตนได้ จึงได้กล่าว 2 คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[215] เราเป็นปุถุชนมืดมนอยู่ เมื่อไม่เห็นอริยสัจ
จึงได้ท่องเที่ยววนเวียนไปมาในคติทั้งหลายตลอดกาลนาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 26 หน้า :371 }