เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [2. ทุกนิบาต]2. ทุติยวรรค 10. สิริมเถรคาถา
9. นันทเถรคาถา
ภาษิตของพระนันทเถระ
(พระนันทเถระเกิดความโสมนัส จึงได้กล่าว 2 คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[157] เรามัวประกอบการประดับตกแต่ง
มีจิตฟุ้งซ่านและกวัดแกว่ง
ถูกกามราคะรบกวน เพราะไม่ได้ทำโยนิโสมนสิการ1
[158] เราปฏิบัติโดยอุบายที่ชอบ
อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธ์พระอาทิตย์ผู้ฉลาดในอุบาย
ได้ทรงสั่งสอนแนะนำแล้ว
จึงถอนจิตในภพได้แล้ว

10. สิริมเถรคาถา
ภาษิตของพระสิริมเถระ
(พระสิริมเถระเมื่อจะติเตียนความเป็นปุถุชน จึงได้กล่าว 2 คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[159] ถ้าตนมีจิตไม่ตั้งมั่น
แม้ชนเหล่าอื่นจะสรรเสริญ
ชนเหล่าอื่นก็สรรเสริญเปล่า
เพราะตนมีจิตไม่ตั้งมั่น
[160] ถ้าตนมีจิตตั้งมั่นดีแล้ว
แม้ชนเหล่าอื่นจะติเตียน
ชนเหล่าอื่นก็ติเตียนเปล่า
เพราะตนมีจิตตั้งมั่นดีแล้ว
ทุติยวรรค จบ

เชิงอรรถ :
1 การทำในใจโดยแยบคาย (การใช้ความคิดอย่างถูกวิธี)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 26 หน้า :356 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [2. ทุกนิบาต] 3. ตติยวรรค 2. ภัททชิเถรคาถา
รวมเรื่องพระเถระที่มีในวรรคนี้ คือ

1. พระมหาจุนทเถระ 2. พระโชติทาสเถระ
3. พระเหรัญญิกานิเถระ 4. พระโสมมิตตเถระ
5. พระสัพพมิตตเถระ 6. พระมหากาลเถระ
7. พระติสสเถระ 8. พระกิมพิลเถระ
9. พระนันทเถระ 10. พระสิริมเถระ

3. ตติยวรรค
หมวดที่ 3
1. อุตตรเถรคาถา
ภาษิตของพระอุตตรเถระ
(พระอุตตรเถระเมื่อพยากรณ์พระอรหัต จึงได้กล่าว 2 คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[161] เรากำหนดรู้ขันธ์ทั้งหลายแล้ว ถอนตัณหาขึ้นได้ด้วยดี
ถึงโพชฌงค์เราเจริญแล้ว เราได้ถึงความสิ้นอาสวะแล้ว
[162] ครั้นกำหนดรู้ขันธ์ทั้งหลายแล้ว ถอนตัณหาดุจข่ายได้
เจริญโพชฌงค์แล้ว จักเป็นผู้ไม่มีอาสวะนิพพาน

2. ภัททชิเถรคาถา
ภาษิตของพระภัททชิเถระ
(พระภัททชิเถระสรรเสริญปราสาททองที่ตนเคยครอบครอง จึงได้กล่าว 2
คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[163] พระราชาทรงพระนามว่าปนาทะ
มีปราสาททองกว้างและสูงประมาณ 16 โยชน์
ชนทั้งหลายกล่าวกันว่าสูงประมาณ 1,000 โยชน์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 26 หน้า :357 }