เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [4. มหาวรรค] 6. กุมารเปตวัตถุ
[743] และเขาได้วิงวอนท่านซึ่งไม่พูดด้วย
ได้พูดกับท่านว่า ขอท่านให้อ้อยเถิดนาย
ท่านได้ยื่นอ้อยให้แก่บุรุษนั้นข้างหลัง
นี้เป็นผลกรรมนั้นแหละ
[744] ขอเชิญท่านหันหลังไปหยิบเอา
ครั้นรับแล้ว เชิญกินอ้อยนั้นตามต้องการเถิด
เพราะเหตุนั้นแหละ ท่านจักเป็นผู้ดีใจ
ร่าเริง เบิกบาน และบันเทิงใจ
[745] เปรตนั้นได้หันหลังไปหยิบอ้อย
ครั้นรับแล้ว กินอ้อยนั้นตามความต้องการ
เพราะเหตุนั้นแหละ เปรตนั้นจึงดีใจ
ร่าเริง เบิกบาน และบันเทิงใจ
อุจฉุเปตวัตถุที่ 5 จบ

6. กุมารเปตวัตถุ
เรื่องกุมารเปรต
(พระศาสดาตรัสว่า)
[746] เราได้ฟังมาดังนี้ว่า
ได้มีกุมารสององค์เป็นพระราชโอรส
ในกรุงสาวัตถี ข้างป่าหิมพานต์
[747] พระราชกุมารทั้ง 2 พระองค์นั้น
ทรงมัวเมาในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
ทรงเพลิดเพลินด้วยอำนาจ ความยินดีในกาม
ทรงติดความสุขในปัจจุบัน
ไม่ทรงเห็นถึงความสุขในอนาคต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 26 หน้า :289 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [4. มหาวรรค] 7. ราชปุตตเปตวัตถุ
[748] ครั้นเคลื่อนจากความเป็นมนุษย์นี้ไปสู่ปรโลก
ไม่ปรากฏกายให้ใครเห็น
ร้องคร่ำครวญถึงกรรมชั่วครั้งก่อนของตน
ณ ที่ใกล้กรุงสาวัตถีนี้ว่า
[749] เมื่อพระทักขิไณยบุคคลมีอยู่มากหลาย
และเมื่อไทยธรรมก็มีอยู่
แต่พวกเราไม่อาจทำบุญซึ่งจะนำความสุขมาให้
แล้วทำตนให้มีความสวัสดี(แม้เพียง)เล็กน้อย
[750] อะไรจะพึงเลวกว่ากามนั้น
อันเป็นเหตุให้พวกเราเคลื่อนจากราชสกุลแล้วไปอยู่เปตวิสัย
เพียบพร้อมไปด้วยความหิวกระหาย
[751] มนุษย์ทั้งหลายในโลกนี้เคยเป็นเจ้าของในที่ใด
ย่อมไม่ได้เป็นเจ้าของในที่นั้นอีก
เป็นผู้เจริญขึ้นแล้วเสื่อมลง ย่อมหมุนไปตามความหิวกระหาย
[752] นรชนทราบถึงโทษ
ซึ่งเกิดมีด้วยอำนาจความเมาในความเป็นใหญ่อย่างนี้แล้ว
ละความเมาในความเป็นใหญ่ได้แล้ว พึงไปสวรรค์ได้
เขามีปัญญาเมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสวรรค์
กุมารเปตวัตถุที่ 6 จบ

7. ราชปุตตเปตวัตถุ
เรื่องเปรตราชบุตร
(พระศาสดาตรัสว่า)
[753] ผลกรรมทั้งหลายที่พระราชโอรสทำไว้ในชาติก่อนพึงย่ำยีจิตใจ
เพราะรูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะที่น่ารื่นรมย์ใจ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 26 หน้า :290 }