เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [4. อัฏฐกวรรค] รวมพระสูตรที่มีในวรรค
[982] ภิกษุเป็นผู้มีสติ มีจิตหลุดพ้นด้วยดีแล้ว
พึงกำจัดความพอใจในธรรมเหล่านี้
ภิกษุนั้นเมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบตามกาล
เป็นผู้มีสมาธิเป็นธรรมเอกผุดขึ้น พึงกำจัดความมืด
สารีปุตตสูตรที่ 16 จบ
อัฏฐกวรรคที่ 4 จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. กามสูตร 2. คุหัฏฐกสูตร
3. ทุฏฐัฏฐกสูตร 4. สุทธัฏฐกสูตร
5. ปรมัฏฐกสูตร 6. ชราสูตร
7. ติสสเมตเตยยสูตร 8. ปสูรสูตร
9. มาคันทิยสูตร 10. ปุราเภทสูตร
11. กลหวิวาทสูตร 12. จูฬวิยูหสูตร
13. มหาวิยูหสูตร 14. ตุวฏกสูตร
15. อัตตทัณฑสูตร 16. สารีปุตตสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :734 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [5. ปารายนวรรค] วัตถุกถา
5. ปารายนวรรค
หมวดว่าด้วยธรรมเป็นเหตุให้ถึงฝั่ง
วัตถุกถา1
พราหมณ์พาวรีส่งศิษย์ไปทูลถามปัญหา
[983] เรื่องพราหมณ์พาวรีผู้เรียนจบมนตร์
ปรารถนาความเป็นผู้ไม่มีกังวล
จึงเดินทางออกจากแคว้นโกศลอันรื่นรมย์
ไปสู่ทักขิณาปถชนบท
[984] ท่านอาศัยอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำโคธาวรี
อันเป็นพรมแดนแคว้นอัสสกะและแคว้นมุฬกะต่อกัน
(เลี้ยงชีพ) อยู่ด้วยการเที่ยวภิกษาและผลไม้
[985] เพราะอาศัยพราหมณ์นั้นนั่นเอง
หมู่บ้านจึงได้เจริญไพบูลย์
ท่านได้ประกอบพิธีมหายัญขึ้น
ด้วยรายได้ที่เกิดจากหมู่บ้านนั้น
[986] ท่านบูชาพิธีมหายัญเสร็จแล้ว ก็กลับเข้าอาศรม
เมื่อท่านกลับเข้าอาศรมแล้ว
พราหมณ์อีกคนหนึ่งก็เดินทางมาถึง
[987] พราหมณ์ที่มาพบนั้น มีเท้าเดินเสียดสีกัน
ท่าทางน่ากลัวมีฟันเขลอะ
ศีรษะเกลือกกลั้วด้วยสิ่งสกปรก
เข้าไปหาพราหมณ์พาวรีแล้ว
ขอทรัพย์ 500 กหาปณะ

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ ขุ.จู. (แปล) 30/1-56/1-10

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :735 }