เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [4. อัฏฐกวรรค] 9. มาคันทิยสูตร
ที่เต็มไปด้วยปัสสาวะและอุจจาระนี้ได้อย่างไรเล่า
เราไม่ปรารถนาจะถูกต้องเรือนร่างนางแม้ด้วยเท้า
(มาคันทิยพราหมณ์ทูลถามดังนี้)
[843] หากท่านไม่ปรารถนานารีผู้เป็นอิตถีรัตนะเช่นนี้
ที่พระราชาผู้เป็นจอมคนจำนวนมากพากันปรารถนา
ท่านจะกล่าวทิฏฐิ ศีล วัตร ชีวิต
และการอุบัติขึ้นในภพว่าเป็นเช่นไร
(พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า มาคันทิยะ)
[844] การตกลงใจในธรรมทั้งหลายแล้วถือมั่นว่า
เรากล่าวสิ่งนี้ ดังนี้ ย่อมไม่มีแก่เรา
เราเห็นโทษในทิฏฐิทั้งหลาย จึงไม่ยึดมั่น
เมื่อเลือกเฟ้น จึงได้เห็นความสงบภายใน
(มาคันทิยพราหมณ์ทูลถามดังนี้)
[845] ทิฏฐิเหล่าใดที่ตกลงใจกำหนดไว้แล้ว
มุนีไม่ยึดมั่นทิฏฐิเหล่านั้นแล
กล่าวเนื้อความใดว่า ความสงบภายใน
เนื้อความนั้น นักปราชญ์ทั้งหลายประกาศไว้อย่างไรหนอ
(พระผู้มีพระภาคตรัสว่า มาคันทิยะ)
[846] นักปราชญ์ไม่กล่าวความหมดจดเพราะทิฏฐิ
ไม่กล่าวความหมดจดเพราะสุตะ
ไม่กล่าวความหมดจดเพราะญาณ
ไม่กล่าวความหมดจดเพราะศีลและวัตร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :702 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [4. อัฏฐกวรรค] 9. มาคันทิยสูตร
บุคคลย่อมถึงความสงบภายใน เพราะความไม่มีทิฏฐิ1
เพราะความไม่มีสุตะ2 เพราะความไม่มีญาณ3
เพราะความไม่มีศีล4 เพราะความไม่มีวัตรนั้นก็หามิได้5
นักปราชญ์สลัดทิ้งธรรมเหล่านี้ได้แล้ว
ไม่ยึดมั่น เป็นผู้สงบ ไม่อาศัยแล้ว ไม่พึงหวังภพ
(มาคันทิยพราหมณ์กราบทูลดังนี้)
[847] หากนักปราชญ์ไม่กล่าวความหมดจดเพราะทิฏฐิ
ไม่กล่าวความหมดจดเพราะสุตะ
ไม่กล่าวความหมดจดเพราะญาณ
ไม่กล่าวความหมดจดเพราะศีลและวัตร

เชิงอรรถ :
1 ทิฏฐิ ในที่นี้หมายถึงสัมมาทิฏฐิมีวัตถุ 10 คือ (1) ทานที่ให้แล้วมีผล (2) ยัญที่บูชาแล้วมีผล (3) การ
เซ่นสรวงมีผล (4) ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่วมีอยู่ (5) โลกนี้มี (6) โลกหน้ามี (7) มารดามีคุณ
(8) บิดามีคุณ (9) สัตว์เป็นโอปปาติกะมีอยู่ (10) สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ รู้แจ้งโลกนี้และ
โลกหน้า ด้วยตนเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งมีอยู่ในโลก (ขุ.ม. (แปล) 29/74/224)
2 สุตะ ในที่นี้หมายถึงเสียงจากผู้อื่น คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม
และเวทัลละ (ขุ.ม. (แปล) 29/74/224)
3 ญาณ หมายถึงกัมมัสสกตาญาณ (ญาณที่เชื่อความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน) หมายถึงสัจจานุโลมิก-
ญาณ (ญาณอันเป็นไปโดยอนุโลมแก่การหยั่งรู้อริยสัจ) และหมายถึงอภิญญาญาณ (ญาณคือความรู้
อย่างยิ่งยวด) มี 6 คือ (1) อิทธิวิธิ (2) ทิพพโสต (3) เจโตปริยญาณ (4) ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
(5) ทิพพจักขุ (6) อาสวักขยญาณ และสมาปัตติญาณ (ญาณในสมาบัติ 8) (ขุ.ม. (แปล) 29/74/224)
4 ศีล ในที่นี้หมายถึงปาติโมกขสังวร (สำรวมในพระปาติโมกข์) (ขุ.ม. (แปล) 29/74/224)
5 วัตร ในที่นี้หมายถึงธุดงค์ 8 ข้อ คือ (1) อารัญญิกังคธุดงค์ (สมาทานการอยู่ในป่าเป็นวัตร) (2) ปิณฑ-
ปาติกังคธุดงค์ (สมาทานการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร) (3) ปังสุกูลิกังคธุดงค์ (สมาทานการนุ่งห่มผ้าบังสุกุล
เป็นวัตร) (4) เตจีวริกังคธุดงค์ (สมาทานการทรงไตรจีวรเป็นวัตร) (5) สปทานจาริกังคธุดงค์ (สมาทาน
การเที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอกเป็นวัตร) (6) ขลุปัจฉาภัตติกังคธุดงค์ (สมาทานห้ามภัตที่ถวายภาย
หลังเป็นวัตร) (7) เนสัชชิกังคธุดงค์ (สมาทานการนั่งเป็นวัตร) (8) ยถาสันถติกังคธุดงค์ (สมาทานการอยู่
ในเสนาสนะตามที่เขาจัดให้เป็นวัตร (ขุ.ม. (แปล) 29/74/224-225)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :703 }