เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [3. มหาวรรค] 9. วาเสฏฐสูตร
[614] คือ ไม่มีการกำหนดว่า เป็นพราหมณ์ เป็นกษัตริย์เป็นต้น
ด้วยผม ศีรษะ ใบหู นัยน์ตา ใบหน้า จมูก ริมฝีปาก คิ้ว
[615] คอ บ่า ท้อง หลัง สะโพก อก
ซอกอวัยวะ อวัยวะสืบพันธุ์
[616] มือ เท้า นิ้วมือ เล็บ แข้ง ขาอ่อน
ผิวพรรณ หรือเสียง
ในหมู่มนุษย์จึงไม่มีรูปร่างสัณฐาน
แตกต่างกันตามกำเนิดมากมาย
เหมือนในกำเนิดอื่น ๆ เลย
[617] ในหมู่มนุษย์ไม่มีลักษณะเฉพาะตัวในสรีระของแต่ละคน
และในหมู่มนุษย์ การเรียกชื่อต่างกันว่า พราหมณ์ กษัตริย์ เป็นต้น
ท่านบัญญัติเรียกเพียงโวหาร
[618] ในหมู่มนุษย์ ใครก็ตามอาศัยโครักขกรรมเลี้ยงชีพ
วาเสฏฐะ เธอจงรู้อย่างนี้ว่า
ผู้นั้นเรียกว่า ชาวนา ไม่เรียกว่า พราหมณ์
[619] ในหมู่มนุษย์ ใครก็ตามเลี้ยงชีพ
ด้วยการช่างฝีมืออันเป็นศิลปะต่าง ๆ
วาเสฏฐะ เธอจงรู้อย่างนี้ว่า
ผู้นั้นเรียกว่า ช่างศิลป์ ไม่เรียกว่า พราหมณ์
[620] ในหมู่มนุษย์ ใครก็ตามอาศัยการค้าขายเลี้ยงชีพ
วาเสฏฐะ เธอจงรู้อย่างนี้ว่า
ผู้นั้นเรียกว่า พ่อค้า ไม่เรียกว่า พราหมณ์
[621] ในหมู่มนุษย์ ใครก็ตามเลี้ยงชีพด้วยการรับใช้ผู้อื่น
วาเสฏฐะ เธอจงรู้อย่างนี้ว่า
ผู้นั้นเรียกว่า คนรับใช้ ไม่เรียกว่า พราหมณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :648 }