เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ 5. มงคลสูตร
8. อะไรชื่อว่า แปด
ที่ชื่อว่า แปด ได้แก่ อริยมรรคมีองค์ 8
9. อะไรชื่อว่า เก้า
ที่ชื่อว่า เก้า ได้แก่ สัตตาวาส 91
10. อะไรชื่อว่า สิบ
ที่ชื่อว่า สิบ ได้แก่ บุคคลผู้ประกอบด้วยองค์คุณ 102 เรียกว่า พระอรหันต์
สามเณรปัญหา จบ

5. มงคลสูตร
ว่าด้วยมงคล
[1] ข้าพเจ้า3ได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น เมื่อราตรีผ่านไป4 เทวดาองค์หนึ่งมีวรรณะ
งดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างไปทั่วพระเชตวัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร5 ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า

เชิงอรรถ :
1 ดู ที.ปา. 11/341/232, 359/272
2 องค์คุณ 10 ได้แก่ (1) สัมมาทิฏฐิ (2) สัมมาสังกัปปะ (3) สัมมาวาจา (4) สัมมากัมมันตะ (5) สัมมาอาชีวะ
(6) สัมมาวายามะ (7) สัมมาสติ (8) สัมมาสมาธิ (9) สัมมาญาณะ (10) สัมมาวิมุตติ (ขุ.ขุ.อ. 4/77)
3 ข้าพเจ้า ในตอนเริ่มต้นของพระสูตรนี้และพระสูตรอื่น ๆ ในเล่มนี้หมายถึง พระอานนท์
4 ราตรีผ่านไป ในที่นี้หมายถึงปฐมยาม(ยามแรก) กำหนดเวลา 4 ชั่วโมงตั้งแต่เวลา 18 นาฬิกาถึง 22
นาฬิกาแห่งราตรีที่ผ่านไป กำลังอยู่ในช่วงมัชฌิยาม(ยามกลาง) คือกำลังอยู่ในช่วงเวลาตั้งแต่ 22 นาฬิกา
ถึง 2 นาฬิกาของวันใหม่ (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/21-22/108, ขุ.ขุ.อ. 5/99)
5 ที่สมควร (เอกมนฺตํ) ในที่นี้หมายถึงที่เหมาะสมเว้นโทษ 6 ประการ คือ (1) ไกลเกินไป (2) ใกล้เกินไป
(3) อยู่เหนือลม (4) สูงเกินไป (5) อยู่ตรงหน้าเกินไป (6) อยู่ข้างหลังเกินไป (องฺ.ทุก.อ. 2/16/318)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :6 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ 5. มงคลสูตร
[2] เทวดาและมนุษย์จำนวนมาก
ต่างมุ่งหวังความสวัสดี ร่วมกันคิดถึงเรื่องมงคล
ขอพระองค์ตรัสบอกมงคลอันสูงสุดด้วยเถิด
(พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบดังนี้)
[3] (1) การไม่คบคนพาล (2) การคบแต่บัณฑิต
(3) การบูชาคนที่ควรบูชา
นี้เป็นมงคลอันสูงสุด
[4] (4) การอยู่ในถิ่นที่เหมาะสม
(5) การได้สร้างบุญไว้ในปางก่อน (6) การตั้งตนไว้ชอบ
นี้เป็นมงคลอันสูงสุด
[5] (7) ความเป็นพหูสูต (8) ความเป็นผู้มีศิลปะ
(9) วินัยที่ศึกษามาดี (10) วาจาสุภาษิต
นี้เป็นมงคลอันสูงสุด
[6] (11) การบำรุงมารดาบิดา (12) การสงเคราะห์บุตร
(13) การสงเคราะห์ภรรยา (14) การงานที่ไม่อากูล1
นี้เป็นมงคลอันสูงสุด
[7] (15) การให้ทาน (16) การประพฤติธรรม
(17) การสงเคราะห์ญาติ (18) การงานที่ไม่มีโทษ
นี้เป็นมงคลอันสูงสุด
[8] (19) การงดเว้นจากบาป (20) การเว้นจากการดื่มน้ำเมา
(21) ความไม่ประมาทในธรรม
นี้เป็นมงคลอันสูงสุด

เชิงอรรถ :
1 อากูล หมายถึงการงานที่ทำคั่งค้างไว้ ที่ทำไม่เหมาะสม และที่ทำย่อหย่อนไม่สมบูรณ์แบบ (ขุ.ขุ.อ. 5/121)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :7 }