เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [2. จูฬวรรค] 3. หิริสูตร
บุคคลผู้ไม่มีกิเลสคือกลิ่นดิบ
ไม่มีตัณหาและทิฏฐิอาศัย
ใคร ๆ ก็แนะนำได้ยาก
[255] ติสสดาบสฟังบทสุภาษิตว่าด้วยเรื่องสิ่งที่ไม่มีกลิ่นดิบ
ที่เป็นเครื่องบรรเทาทุกข์ทั้งปวง
ของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว
มีใจอ่อนน้อม ถวายอภิวาทพระตถาคต
และกราบทูลขอบรรพชาอุปสมบท ณ ที่นั้นนั่นเอง
อามคันธสูตรที่ 2 จบ

3. หิริสูตร
ว่าด้วยความละอาย
[256] (พระผู้มีพระภาคทรงตอบปัญหาของดาบสดังนี้)
คนผู้ไม่มีหิริ รังเกียจคนมีหิริ
ชอบพูดว่า ‘เราเป็นเพื่อนท่าน’
แต่ไม่เคยช่วยเหลือการงานของเพื่อนเลย
พึงรู้เถิดว่า ‘คนนั้นไม่ใช่เพื่อนเรา’
[257] คนพูดวาจาไพเราะอ่อนหวาน
แต่ไม่ทำประโยชน์แก่มิตร
บัณฑิตเรียกว่า ผู้ดีแต่พูด
[258] มิตรใดไม่พลั้งเผลอ มุ่งหวังความแตกแยกกัน
คอยหาแต่ความผิดเท่านั้นทุกเวลา
มิตรนั้นไม่ควรคบ
ส่วนมิตรที่วางใจได้ เหมือนบุตรในไส้
ถึงผู้อื่นกล่าวเหตุตั้งร้อยอย่างพันอย่าง
ก็ไม่แตกแยกจากกัน
มิตรเช่นนั้นควรคบอย่างยิ่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :560 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [2. จูฬวรรค] 4. มงคลสูตร
[259] ความเพียรที่เป็นเหตุให้เกิดปราโมทย์
ย่อมนำทั้งความสรรเสริญและความสุขมาให้
ผู้หวังผล นำธุระอันสมควรแก่บุรุษ
ย่อมทำความเพียรนั้นให้เจริญได้
[260] บุคคลดื่มปวิเวกรส
ลิ้มรสแห่งความสงบ
และได้ลิ้มรสแห่งปีติในธรรมแล้ว
เป็นผู้ไม่มีความกระวนกระวาย ไม่มีบาป1
หิริสูตรที่ 3 จบ

4. มงคลสูตร
ว่าด้วยมงคล2
ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น เมื่อราตรีผ่านไป3 เทวดาองค์หนึ่งมีวรรณะ
งดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างไปทั่วพระเชตวัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคด้วย
คาถาว่า
[261] เทวดาและมนุษย์จำนวนมาก
ต่างมุ่งหวังความสวัสดี ร่วมกันคิดถึงเรื่องมงคล
ขอพระองค์ตรัสบอกมงคลอันสูงสุดด้วยเถิด

เชิงอรรถ :
1 ดูธรรมบทข้อ 205 หน้า 96 ในเล่มนี้
2 ดูขุททกปาฐะ (มงคลสูตร ข้อ 1-13 หน้า 6-8 ในเล่มนี้)
3 ดูเชิงอรรถที่ 4 หน้า 6 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :561 }