เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [1. อุรควรรค] 9. เหมวตสูตร
พระองค์ทรงล่วงพ้นโมหะทั้งปวงได้จริง
พระองค์ตรัสรู้แล้ว ทรงมีปัญญาจักษุในธรรมทั้งหลายจริง
[162] (เหมวตยักษ์ถามดังนี้)
พระโคดมทรงสมบูรณ์ด้วยวิชชาจริงหรือ
พระองค์ทรงมีจรณะบริสุทธิ์จริงหรือ
พระองค์ทรงสิ้นอาสวะทั้งหลายจริงหรือ
พระองค์ไม่ทรงเกิดอีกจริงหรือ
[163] (สาตาคิรยักษ์ตอบดังนี้)
พระโคดมทรงสมบูรณ์ด้วยวิชชาจริง
พระองค์ทรงมีจรณะบริสุทธิ์จริง
พระองค์ทรงสิ้นอาสวะทั้งหลายจริง
พระองค์ไม่ทรงเกิดอีกจริง
[164] (เหมวตยักษ์กล่าวชื่นชมสาตาคิรยักษ์ดังนี้)
ท่านได้สรรเสริญพระทัยของพระมุนีโคดม
ที่ถึงพร้อมด้วยกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม
และสรรเสริญพระมุนีโคดมนั้น
ผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ โดยธรรม
[165] (สาตาคิรยักษ์กล่าวชื่นชมเหมวตยักษ์ดังนี้)
ท่านก็ชื่นชมพระทัยของพระมุนีโคดม
ที่ถึงพร้อมด้วยกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม
และชื่นชมพระมุนีโคดมนั้น
ผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ โดยธรรม
[166] พระทัยของพระมุนีโคดม
ถึงพร้อมด้วยกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม
เราไปเฝ้าพระโคดมผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะกันเถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :537 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [1. อุรควรรค] 9. เหมวตสูตร
[167] (เหมวตยักษ์กล่าวดังนี้)
มาเถิด เราทั้งสองจะไปเฝ้าพระโคดม
ผู้มีพระชงฆ์ดังปลีแข้งเนื้อทราย
มีพระวรกายงามระหง มีลักษณะองอาจ
เสวยพระกระยาหารแต่พอประมาณ
ทรงปราศจากความติดพระทัยในรสพระกระยาหาร
ทรงเป็นมุนีผู้เพ่งพินิจอยู่ในป่า
[168] เราทั้งสองไปเฝ้าพระโคดม ผู้สง่าดุจราชสีห์
เสด็จจาริกโดดเด่นพระองค์เดียว1
ทรงเป็นพระนาคะ2
ไม่ทรงยินดีในกามทั้งหลาย
จะทูลถามถึงธรรมเครื่องพ้นจากบ่วงมัจจุราช3
[169] เราทั้งสองจงทูลถามพระโคดมผู้ทรงแนะนำพร่ำสอน
ทรงถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง4
ทรงเป็นผู้ตรัสรู้ ล่วงพ้นเวรภัยได้ทุกอย่าง

เชิงอรรถ :
1 เสด็จจาริกโดดเด่นพระองค์เดียว หมายถึงไม่มีตัณหา อีกนัยหนึ่ง หมายถึงในโลกธาตุเดียวกันนี้ มีเพียง
พระพุทธเจ้าพระองค์เดียวเท่านั้น ไม่มีพระพุทธเจ้า 2 พระองค์ (ขุ.สุ.อ. 1/168/237)
2 ทรงเป็นพระนาคะ หมายถึงเป็นผู้ไม่เกิดอีกบ้าง เป็นผู้ไม่ทำความชั่วบ้าง หรือหมายถึงทรงมีพลธรรม
บ้าง (ขุ.สุ.อ. 1/168/237)
3 ธรรมเครื่องพ้นจากบ่วงมัจจุราช ในที่นี้หมายถึงนิพพาน (ขุ.สุ.อ.1/168/238)
4 ธรรมทั้งปวง ในที่นี้หมายถึงธรรมที่เป็นไปในภูมิ 4 (ขุ.สุ.อ.1/169/239)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :538 }