เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [1. อุรควรรค] 7. วสลสูตร
[129] คนผู้กล่าวมุสาวาท หลอกลวงสมณะหรือพราหมณ์
หรือแม้กระทั่งวณิพกยาจกอื่น ๆ
พึงทราบว่าเป็นคนเลว
[130] คนที่เมื่อสมณะหรือพราหมณ์มาบิณฑบาตแต่เช้า
ไม่ถวายอาหารบิณฑบาต กลับด่าว่าขับไล่
พึงทราบว่าเป็นคนเลว
[131] ในโลกนี้คนถูกโมหะครอบงำ
อยากได้สิ่งของเล็กน้อยของผู้อื่น
ก็พูดจาหลอกลวงเขาเพื่อให้ได้สิ่งนั้นมา
พึงทราบว่าเป็นคนเลว
[132] คนผู้ชอบยกตน และดูหมิ่นคนอื่น
ประพฤติเลวทราม เพราะความถือตัวจัดของตน
พึงทราบว่าเป็นคนเลว
[133] คนโหดร้าย มีจิตใจคับแคบ ปรารถนาชั่ว
มีความตระหนี่ โอ้อวด ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ
พึงทราบว่าเป็นคนเลว
[134] คนกล่าวร้ายพระพุทธเจ้าหรือพระสาวก
ของพระพุทธเจ้าที่เป็นบรรพชิตหรือคฤหัสถ์
พึงทราบว่าเป็นคนเลว
[135] คนไม่เป็นพระอรหันต์ แต่ปฏิญญาว่าเป็นพระอรหันต์
ชื่อว่าเป็นดุจโจรในมนุษยโลก เทวโลก และพรหมโลก
พึงทราบว่าเป็นคนเลวทรามต่ำช้าที่สุด
[136] คนที่เรากล่าวมาทั้งหมดนี้ เราเรียกว่าเป็นคนเลว
คนจะชื่อว่าเป็นคนเลวเพราะชาติกำเนิดก็หามิได้
จะชื่อว่าเป็นพราหมณ์เพราะชาติกำเนิดก็หามิได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :531 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [1. อุรควรรค] 7. วสลสูตร
แต่ชื่อว่าเป็นคนเลวเพราะกรรม
ชื่อว่าเป็นพราหมณ์เพราะกรรม
[137] ท่านจงรู้ข้อนั้นตามที่เราแสดงนี้ คือ
บุตรคนจัณฑาลผู้ปรากฏชื่อว่ามาตังคะ
ผู้ปิ้งสุนัขรับประทาน
[138] ต่อมา นายมาตังคะได้รับยศศักดิ์ใหญ่ซึ่งได้แสนยาก
ทั้งกษัตริย์และพราหมณ์จำนวนมาก ต่างมาสู่ที่บำรุงของเขา
[139] เขาขึ้นยานอันประเสริฐ1ไปตามทางใหญ่2ที่ไม่มีฝุ่นละออง3
ละกามราคะได้แล้ว ไปเกิดในพรหมโลก
ชาติกำเนิดห้ามเขาไม่ให้ไปเกิดในพรหมโลกไม่ได้
[140] พวกพราหมณ์ที่เกิดในตระกูลสาธยายมนตร์ มีหน้าที่ร่ายมนตร์
แต่ปรากฏว่าพวกเขาทำบาปกรรมอยู่เป็นประจำ
[141] พราหมณ์พวกนั้นถูกตำหนิในชาติปัจจุบันตายแล้วก็ต้องไปทุคติ
ชาติกำเนิดห้ามพวกเขาจากทุคติหรือจากการติเตียนไม่ได้
[142] คนจะชื่อว่าเป็นคนเลวเพราะชาติกำเนิดก็หามิได้
จะชื่อว่าเป็นพราหมณ์เพราะชาติกำเนิดก็หามิได้
แต่ชื่อว่าเป็นคนเลวเพราะกรรม
ชื่อว่าเป็นพราหมณ์เพราะกรรม
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว อัคคิกภารทวาชพรามหณ์ได้กราบทูลว่า
“ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่ท่าน

เชิงอรรถ :
1 ยานอันประเสริฐ ในที่นี้หมายถึงสมาบัติ 8 (ขุ.สุ.อ.1/139/192)
2 ไปตามทางใหญ่ หมายถึงเป็นผู้ปฏิบัติตามทางที่พระพุทธเจ้าเป็นต้นดำเนินไปแล้ว (ขุ.สุ.อ.1/139/192)
3 ฝุ่นละออง หมายถึงกิเลส (ขุ.สุ.อ.1/139/192)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :532 }