เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [1. อุรควรรค] 3. ขัคควิสาณสูตร
พิจารณาเห็นโทษในภพแล้ว
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียวเหมือนนอแรด
[70] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าองค์หนึ่งกล่าวดังนี้)
(พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ปรารถนาความสิ้นตัณหา
ไม่ประมาท ไม่โง่เขลา คงแก่เรียน มีสติ
ผู้มีสังขาตธรรม ผู้แน่นอน มีความมุ่งมั่น
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียวเหมือนนอแรด
[71] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าองค์หนึ่งกล่าวดังนี้)
(พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ไม่สะดุ้งในเพราะเสียง เหมือนราชสีห์
ไม่ติดข่าย1 เหมือนลม
ไม่เปียกน้ำ2 เหมือนบัว
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียวเหมือนนอแรด
[72] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าองค์หนึ่งกล่าวดังนี้)
พญาสีหราชมีเขี้ยวเป็นกำลัง
ข่มขี่ ครอบงำเนื้อทั้งหลายเที่ยวไป ฉันใด
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าก็มีปัญญาเป็นกำลัง
ครอบงำบุคคลทั้งหลายด้วยปัญญา
ใช้เสนาสนะอันสงัด
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียวเหมือนนอแรด
[73] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าองค์หนึ่งกล่าวดังนี้)
(พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) เสพอาศัยเมตตา กรุณา
มุทิตา และอุเบกขา อันเป็นวิมุตติตามกาล

เชิงอรรถ :
1 ข่าย หมายถึง ตัณหาและทิฏฐิ (ขุ.จู (แปล) 30/157/493)
2 ไม่เปียกน้ำ ในที่นี้หมายถึงไม่ติดด้วยอำนาจตัณหาและทิฏฐิ (ขุ.จู (แปล) 30/157/495)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :516 }