เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [4. จตุกกนิบาต] 5. สีลสัมปันนสูตร
มีอุปการะมาก การได้เข้าไปนั่งใกล้ภิกษุเหล่านั้น เรากล่าวว่ามีอุปการะมาก การได้
ระลึกถึงภิกษุเหล่านั้น เรากล่าวว่ามีอุปการะมาก และการได้ออกบวชตามภิกษุ
เหล่านั้น เรากล่าวว่ามีอุปการะมาก นั่นเป็นเพราะเหตุไร ภิกษุทั้งหลาย เพราะ
เมื่อภิกษุเสพ คบ เข้าไปนั่งใกล้1ภิกษุผู้ทรงคุณดังกล่าวนั้น สีลขันธ์ สมาธิขันธ์
ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ แม้ที่ยังไม่บริบูรณ์ก็จะถึงความ
บริบูรณ์ด้วยภาวนา
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ทรงคุณเห็นปานนี้นั้น เราเรียกว่า ‘ศาสดา’ บ้าง
‘สัตถวาหะ(ผู้นำหมู่คณะ)’ บ้าง ‘รณัญชหะ(ผู้ละข้าศึกคือกิเลส)’ บ้าง ‘ตโมนุทะ(ผู้
บรรเทาความมืด)’ บ้าง ‘อาโลกกร(ผู้ทำแสงสว่าง)’ บ้าง ‘โอภาสกร(ผู้ทำโอภาส)’ บ้าง
‘ปัชโชตกร(ผู้ทำความรุ่งเรือง)’ บ้าง ‘ปภังกร(ผู้ทำรัศมี)’ บ้าง ‘อุกการธาร(ผู้ทรง
ประทีปคือปัญญา)’ บ้าง ‘อริยะ(พระอริยะ)’ บ้าง ‘จักขุมันตะ(ผู้มีปัญญาจักษุ)’ บ้าง”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น จึงตรัส
คาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
การได้เห็นพระอริยะทั้งหลายผู้อบรมตนดีแล้ว
ดำรงชีวิตโดยธรรมเสมอ
ย่อมเป็นเหตุให้เกิดปราโมทย์แก่บัณฑิตผู้รู้แจ้ง
พระอริยะทั้งหลายผู้ทำรัศมี ทำแสงสว่าง
เป็นนักปราชญ์ มีปัญญาจักษุ ละข้าศึกคือกิเลส
ประกาศสัทธรรม ทำสัตว์โลกให้เกิดปัญญาสว่างไสว
ซึ่งหากบัณฑิตได้ฟังคำสอนแล้ว รู้สิ่งทั้งปวงโดยชอบ
ย่อมไม่กลับมาเกิดอีกแน่นอน
เพราะรู้ยิ่งภาวะที่สิ้นสุดการเกิด
แม้เนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้แล
สีลสัมปันนสูตรที่ 5 จบ

เชิงอรรถ :
1 เข้าไปนั่งใกล้ หมายถึงถามปัญหาและปฏิบัติตาม (ขุ.อิติ.อ. 104/376)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :483 }