เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [4. จตุกกนิบาต] 4. สมณพราหมณสูตร
4. สมณพราหมณสูตร
ว่าด้วยสมณะหรือพราหมณ์
[103] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์
กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
“ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดไม่รู้แจ้งตามความเป็นจริงว่า
‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’ สมณะหรือพราหมณ์
เหล่านั้น เราหายกย่องว่า เป็นสมณะในหมู่สมณะไม่ หายกย่องว่าเป็นพราหมณ์ใน
หมู่พราหมณ์ไม่ เพราะว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ไม่ได้ทำให้แจ้งผลคือ
ความเป็นสมณะ และผลคือความเป็นพราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ใน
ปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดรู้แจ้งตามความเป็นจริงว่า
‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’ สมณะหรือพราหมณ์
เหล่านั้นแล เรายกย่องว่า เป็นสมณะในหมู่สมณะ ยกย่องว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่
พราหมณ์ เพราะว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นได้ทำให้แจ้งผลคือความเป็นสมณะ
และผลคือความเป็นพราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบันนั่นแล”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น จึงตรัส
คาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดไม่รู้จักทุกข์
เหตุเกิดทุกข์ ธรรมชาติเป็นที่ดับทุกข์ลงได้สิ้นเชิง
และไม่รู้จักทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น
เป็นผู้เสื่อมจากเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :481 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [4. จตุกกนิบาต] 5. สีลสัมปันนสูตร
เป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
เป็นผู้เข้าถึงชาติและชราแท้
ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดรู้จักทุกข์
เหตุเกิดทุกข์ ธรรมชาติเป็นที่ดับทุกข์ลงได้สิ้นเชิง
และรู้จักทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติ
เป็นผู้ควรเพื่อจะทำที่สุดทุกข์ได้
และเป็นผู้ไม่เข้าถึงชาติและชรา1
แม้เนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้แล
สมณพราหมณสูตรที่ 4 จบ

5. สีลสัมปันนสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยศีล
[104] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์
กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใดสมบูรณ์ด้วยศีล สมบูรณ์ด้วยสมาธิ สมบูรณ์
ด้วยปัญญา สมบูรณ์ด้วยวิมุตติ สมบูรณ์ด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ เป็นผู้กล่าวสอน
ให้รู้แจ้ง ชี้แจงให้เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า
ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง เป็นผู้สามารถกล่าวบรรยายสัทธรรมให้เข้าใจง่าย
การได้เห็นภิกษุเหล่านั้น เรากล่าวว่ามีอุปการะมาก การได้ฟัง(ธรรม)ภิกษุ
เหล่านั้น เรากล่าวว่ามีอุปการะมาก การได้เข้าไปหาภิกษุเหล่านั้น เรากล่าวว่า

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบสุตตนิบาต ข้อ 730-733 หน้า 673 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :482 }