เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [3. ติกนิบาต] 5. ปัญจมวรรค 2. ชีวกสูตร
จมอยู่ในทุกข์ สาละวนอยู่กับทุกข์ ทำอย่างไรเล่า การทำที่สุดกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้
จะพึงปรากฏได้”
กุลบุตรนี้เป็นผู้บวชแล้วด้วยเหตุผลตามที่กล่าวแล้วนี้ แต่แล้วกุลบุตรนั้นกลับ
มีความละโมบ กำหนัดยินดีอย่างแรงกล้าในกาม มีจิตพยาบาท คิดประทุษร้าย
หลงลืมสติ ไม่รู้สึกตัว มีจิตไม่ตั้งมั่น กระสับกระส่าย ไม่สำรวมอินทรีย์
ภิกษุทั้งหลาย ท่อนฟืนในที่เผาศพ ถูกไฟไหม้ทั้งด้านหัวและท้าย และตรง
กลางยังเปื้อนคูถ จะใช้เป็นฟืนในบ้านหรือในป่าก็ไม่ได้ทั้งนั้น ฉันใด บุคคลผู้นี้ก็
เปรียบเช่นนั้น เราเรียกว่า “เป็นคนเสื่อมจากโภคะของคฤหัสถ์ และไม่สามารถ
บำเพ็ญประโยชน์สำหรับความเป็นสมณะให้บริบูรณ์ได้”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น จึงตรัส
คาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
คนผู้มีส่วนชั่ว เสื่อมจากโภคะของคฤหัสถ์
ทั้งยังทำลายประโยชน์ของความเป็นสมณะให้เสื่อมสูญสิ้นไป
เหมือนท่อนฟืนในที่เผาศพมอดไหม้ไป ฉะนั้น
ภิกษุชั่วจำนวนมากมีผ้ากาสาวะพันที่คอ
มีธรรมเลวทราม ไม่สำรวม
ย่อมตกนรกเพราะบาปกรรมทั้งหลาย
การกลืนกินก้อนเหล็กแดงที่ร้อนดุจเปลวเพลิง
ยังดีกว่าการที่ภิกษุผู้ทุศีล ไม่สำรวม
บริโภคอาหารที่ชาวบ้านเขาถวาย1
แม้เนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้แล
ชีวกสูตรที่ 2 จบ

เชิงอรรถ :
1 ดูธรรมบท ข้อ 307-308 หน้า 129, อิติวุตตกะ ข้อ 48 หน้า 399 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :464 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [3. ติกนิบาต] 5. ปัญจมวรรค 3. สังฆาฏิกัณณสูตร
3. สังฆาฏิกัณณสูตร
ว่าด้วยผู้เกาะชายผ้าสังฆาฏิ
[92] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์
กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
“ภิกษุทั้งหลาย แม้ถ้าภิกษุจับชายผ้าสังฆาฏิแล้วเดินตามรอยเท้าเรา ติดตาม
ไปข้างหลัง แต่ภิกษุนั้นมีความละโมบ กำหนัดยินดีอย่างแรงกล้าในกาม มีจิต
พยาบาท คิดประทุษร้าย หลงลืมสติ ไม่รู้สึกตัว มีจิตไม่ตั้งมั่น กระสับกระส่าย
ไม่สำรวมอินทรีย์ แท้จริงแล้ว ภิกษุนั้นก็ยังชื่อว่าอยู่ห่างไกลเรา เราก็ห่างไกล
ภิกษุนั้น นั่นเป็นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุนั้นยังไม่เห็นธรรม เมื่อไม่เห็นธรรม
ชื่อว่าไม่เห็นเรา
ภิกษุทั้งหลาย แม้ถ้าภิกษุอยู่ไกลเราถึง 100 โยชน์ แต่ภิกษุนั้นไม่มีความ
ละโมบ ไม่กำหนัดยินดีอย่างแรงกล้าในกาม มีจิตไม่พยาบาท ไม่คิดประทุษร้าย
มีสติตั้งมั่น มีความรู้สึกตัว มีจิตตั้งมั่น แน่วแน่ สำรวมอินทรีย์ แท้จริงแล้ว
ภิกษุนั้นก็ชื่อว่าอยู่ใกล้เรา เราก็อยู่ใกล้ภิกษุนั้น นั่นเป็นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุ
นั้นเห็นธรรม เมื่อเห็นธรรม ชื่อว่าเห็นเรา”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น จึงตรัส
คาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
บุคคลผู้มักมาก มีความคับแค้น
ตกอยู่ในอำนาจตัณหา ยังดับความเร่าร้อนไม่ได้
ถึงจะติดตามพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้หมดตัณหาที่ทำให้หวั่นไหว ผู้ทรงดับความเร่าร้อนได้
ผู้นั้นชื่อว่ามีความกำหนัดยินดี
เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ปราศจากความกำหนัดยินดี
เป็นผู้อยู่ห่างไกล1

เชิงอรรถ :
1 เป็นผู้อยู่ห่างไกล หมายถึงอยู่ห่างไกลจากสภาวธรรม (ขุ.อิติ.อ. 92/335)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :465 }